การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน (Salary Structure Design) โดย อาจารย์ อดุลย์ จันทร์งาม

การประเมินค่างานและบริหารค่าตอบแทนถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารค่าตอบแทนโดยยึดหลักเกณฑ์ตามค่างานจะทำให้เกิดความเป็นธรรมภายในองค์กร ผลประเมินค่างานและการจัดระดับงานจะนำไปใช้การออกแบบโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับองค์การ ซึ่งบริษัทจะต้องมีการสำรวจค่าจ้าง เพื่อให้ทราบแนวโน้มอัตราค่าจ้างและสวัสดิการต่าง ๆ ในตลาดแรงงาน แล้วนำมาใช้กำหนดนโยบาย รูปแบบ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และสวัสดิการของแต่ละระดับงานที่เป็นธรรม ทำให้องค์กรมีอัตราค่าจ้างและค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสมกับองค์กร มีประโยชน์สำหรับองค์กรในการรักษาพนักงานที่มีผลงานดีมีศักยภาพสูงให้อยากทำงานอยู่กับองค์กรต่อไป รวมทั้งยังสามารถดึงดูดคนภายนอกที่เป็นคนดีคนเก่งให้อยากมาร่วมงานกับองค์กรในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. ให้เข้าใจแนวทางการนำผลการประเมินค่างานและการจัดระดับงาน เพื่อนำไปใช้ในการจัดทำโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนสำหรับองค์การ
  2. ให้เข้าใจแนวทางการนำผลการสำรวจค่าจ้างมาใช้ประโยชน์ในการออกแบบโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนให้กับองค์การ
  3. ให้ฝึกปฏิบัติ ( Workshop) การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน สำหรับการนำไปใช้ทำงานจริง
  4. ใช้เป็นพื้นฐานในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านอื่น ๆ เช่น การพัฒนาสายความก้าวหน้าในงาน, ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน,Training Roadmap และRecruitment & Selection ฯลฯ 

หัวข้อการฝึกอบรม  

1. การนำค่างานและการจัดระดับงานไปใช้ในการจัดทำโครงสร้างเงินเดือนขององค์การ 

2. หลักการ และขั้นตอนการสำรวจค่าจ้าง 

  • การกำหนดตลาดเป้าหมาย (Target Market)
  • เลือกตำแหน่งตัวแทน (Benchmark Job)
  • จัดเตรียมเอกสารข้อมูลค่าตอบแทน
  • เปรียบเทียบงาน (Job Matching)
  • วิเคราะห์ผลและค่าสถิติ
  • รายงานผล 

3. การอ่าน การคัดเลือก และการนำผลการสำรวจมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างเงินเดือน 

  • คุณสมบัติรายงานผลการสำรวจค่าจ้างที่ดี
  • การอ่าน การคัดเลือก และนำผลการสำรวจค่าจ้างมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างเงินเดือน 

4. ค่าตอบแทนหลัก(ค่าจ้างมูลฐาน) ผลประโยชน์เกื้อกูล และค่าตอบแทนจูงใจกับโครงสร้างเงินเดือน 

5. ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างเงินเดือน 

  • กำหนดตลาดและนโยบายการแข่งขันขององค์กร
  • เปรียบเทียบระดับงานจากข้อมูลค่าจ้างรายตำแหน่งหรือเส้นราคาตลาดเป้าหมาย
  • เลือกใช้ข้อมูลค่าจ้างรายตำแหน่งและหาค่าเฉลี่ย เพื่อคำนวณเส้นราคาตลาด
  • นำเส้นราคาตลาดทำให้เป็นเงินเดือนมูลฐาน ในวันที่จะใช้
  • หาเส้นแนวโน้มเพื่อใช้เป็นค่ากลางของระดับงาน
  • คำนวณช่วงเงินเดือนต่ำสุด สูงสุด และค่าอื่น ๆ ของโครงสร้างเงินเดือน
  • จัดทำกราฟโครงสร้างเงินเดือน 

6. การบริหารโครงสร้างเงินเดือน และการทบทวนโครงสร้างเงินเดือน 

7. Workshop 

  • ให้ทุกคนฝึกปฏิบัติการออกแบบโครงสร้างเงินเดือน จากข้อ 5 
  • ให้เครื่องมือสำหรับการออกแบบโครงสร้างเงิน เพื่อใช้ในการทำงานจริง

รูปแบบการอบรม

  • บรรยาย ยกตัวอย่าง และWorkshop

ระยะเวลาการอบรม : 

จำนวน 1 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 330,352