พัฒนาธุรกิจอย่างไรให้ยั่งยืนด้วย Engagement and Sense of Business Ownership โดย อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)

ากท่านและองค์กรของท่านเชื่อมั่นว่า “การที่องค์กรจะเติบโตและอยู่รอดได้ ต้องอาศัยคนเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และการที่จะขับเคลื่อนคนได้ต้องเริ่มต้นที่การปลูกฝังจิตใจคนในองค์กรให้มีจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร (Sense of Business Ownership)” องค์กรชั้นนำในปัจจุบันหลายแห่งจึงหันมาให้ความสนใจทุ่มเทในการเสริมสร้างจิตสำนึกของความเป็นเจ้าให้แก่พนักงานทุกคนทุกระดับในองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหาร และหัวหน้างานเพื่อที่องค์กรจะสามารถเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนขององค์กร (Sustainable Competitive Advantage )

หลักสูตรนี้สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ของวิทยากรและที่ปรึกษาในการสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร โดยสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้แบบ “4ส” ของ Modern Training Model คือ

  1. สาระ (Concept & Theory) จากความรู้ภาคแนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง
  2. ส่วนร่วม (Participate)จากการทำ 4 Workshop ร่วมระดมความคิดเห็น
  3. สุขสนุกสนาน (Happiness &Enjoy) จาก 5 เกมและกิจกรรม ที่ปลูกจิตใจการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร
  4. และสร้างสรรค์ (Implementation) ด้วยการร่วมสร้างแนวทางหลังอบรมในการ Implement จริงของผู้เข้ารับการอบรม ในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร

ด้วยระบบการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่แบบ Learning by Activity  เพื่อช่วยจุดประกายและเสริมสร้างจิตสำนึกให้พนักงานในองค์กรของท่าน มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าขององค์กร เพื่อร่วมพลังขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย (Corporate KPIs และ Functional KPIs) ที่วางไว้ 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 

  1. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด ของจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร เพื่อลดความสูญเปล่าและความเสียหายในการทำงาน
  2. เสริมสร้างความตระหนักเกี่ยวกับจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร
  3. เป็นการจุดประกายความคิดในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ในการสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร (Sense of Business Ownership)
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร (Sense of Business Ownership) ได้อย่างเป็นรูปธรรมหลังเสร็จสื้นการอบรม  

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ 

ส่วนที่  1  :  จิตสำนึกในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร (Sense of Business Ownership)พื้นฐานความสำเร็จขององค์กร

  • ปัจจัยใดหนอ คือ การเติบโตและอยู่รอดขององค์กร
  • พนักงานยุค Human Resources Capital กับการเติบโตและอยู่รอดขององค์กร
  • จิตสำนึกและความตระหนักของพนักงานมืออาชีพ (Professional Employee Awareness)
  • แปลงความคิดเชิงบวก(Positive Thinking)ให้กลายเป็นพลังแห่งความสำเร็จ
  • Workshop 1 : คิดดีคิดบวกพลังแห่งความสำเร็จ
  • พนักงานผู้มีใจร่วมเป็นเจ้าขององค์กร(Sense of Ownership  / Belongings)
  • Workshop 2 : สำรวจความรู้สึกในการเป็นเจ้าขององค์กรด้วย Survey Graph

ส่วนที่ 2  : ก้าวแรกของการสร้างจิตสำนึกให้พนักงานรักองค์กร (First Step for Sense of Business Ownership)

  • เป้าหมายของชีวิตกับความมุ่งมั่นสู่สำเร็จในการทำงาน (Result Oriented)
  • Workshop 3 : การตั้งเป้าหมายชีวิต เพื่อความสำเร็จของตนเองและองค์ก
  • ความรักและมิตรภาพจากใจเริ่มได้ที่รอยยิ้ม
  • รักองค์กรจริง มันต้องทำงานเป็นทีม ไม่ใช่ฉายเดี่ยว (Engagement Team)

ส่วนที่  3  :  เทคนิคในแปลงจิตสำนึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กรสู่ความตระหนักในการปฏิบัติของพนักงาน (Sense of Business Ownership Technique for Practice)

  • บริษัท คือ บ้านหลังที่สร้างรายได้และความมั่นคงให้ชีวิต
  • แนวความคิดเรื่อง Quality, Cost, Delivery ของพนักงานผู้มีหัวใจรักองค์กร
  • การตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าภายใน (Internal Customer) ในการสนับสนุนการทำงานของ Internal Business Process
  • ความผูกพันในองค์กร (Employee Engagement) กับจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร      
  • Workshop 4 : ขุมทรัพย์สำหรับ Ownership ในการลดความสูญเปล่าในการทำงาน

ส่วนที่  4  : Know what ? Know how ? รวมพลังสู่ความสำเร็จในการร่วมเป็นเจ้าขององค์กร

  • Workshop5 : สานฝันสู่ความสำเร็จ “องค์กรในฝันที่ฉันร่วมเป็นเจ้าของ”  

ระยะเวลาในการเรียนรู้ 

1 วัน   ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.  

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ 

ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย และพนักงานทุกคนในองค์กร  

วิธีการ/รูปแบบในการเรียนรู้ 

  • การบรรยาย (Lecture)  ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่มีการระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมระหว่างฝึกอบรม (Participative Techniques) ช่วยให้ผู้เรียนรู้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop): ที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion)เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • การระดมความคิด (Brainstorming) และการนำเสนอความคิดเห็น
  • การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม  

สนใจหลักสูตรติดต่อ คุณฐิตาภา (ไก่) 

Hotline : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 305,846