การจัดการองค์ความรู้องค์กร ให้เชื่อมโยงกับธุรกิจและกระบวนการทำงาน (Knowledge Management link to Business and Procedure) โดย อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)

องค์กรส่วนใหญ่เข้าใจว่าการจัดทำเว็บไซด์การจัดการความรู้ หรือซื้อระบบ/โปรแกรมเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการจัดการความรู้ในองค์กรที่เพียงพอแล้ว นั่นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของการจัดการความรู้  ข้อกำหนดของ ISO9001:2015 ข้อ 7.1.6 ความรู้องค์กร กำหนดว่า “องค์กรต้องพิจารณากำหนดความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานกระบวนการ และเพื่อให้สอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ  ความรู้ต้องได้รับการธำรงรักษาทำให้มีอยู่ตามขอบเขตที่จำเป็น เมื่อมีการระบุความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้ม องค์กรต้องพิจารณาความรู้ในปัจจุบัน และพิจารณาวิธีการทำให้ได้มาหรือเข้าถึงความรู้เพิ่มเติมที่จำเป็น และความต้องการที่ทำให้ทันสมัย”  นอกจากปัญหาข้างต้นแล้วอาจประสบกับปัญหาการจัดการความรู้เหล่านี้ เช่น 

  • แหล่งความรู้องค์กรมาจากที่ใดบ้าง ?
  • ความรู้องค์กรเรื่องใดที่ต้องได้รับการจัดการ ?
  • ต้องจัดการความรู้องค์กรแค่ไหนถึงจะพอ และสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ISO9001 ?
  • ใครควรมีหน้าที่ในการจัดการความรู้องค์กร ?
  • มีวิธีการใดบ้างในการสกัดความรู้และประสบการณ์ของบุคลากรในองค์กร ?
  • จะใช้วิธีการใดในการส่งมอบ ถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนความรู้องค์กร ?
  • อื่น ๆ

หลักสูตรฝึกอบรมนี้สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นจาก เพื่อช่วยให้องค์กรของท่านแก้ไขปัญหาการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบให้สอดคล้องกับธุรกิจและข้อกำหนดของ ISO9001 ในรูปแบบของการเรียนรู้ที่ “กระชับ เข้าใจง่าย และนำมาปรับใช้ปฏิบัติงานได้จริง พร้อมแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง” 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม 

  1. สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ขั้นตอน และเทคนิคการจัดการความรู้องค์กรได้
  2. เสริมสร้างเทคนิคการดำเนินการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ และสร้าง Value Added ให้กับองค์กรด้วยการจัดการความรู้
  3. สามารถแปลงหลักการสำคัญของระบบการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
  4. สามารถวิเคราะห์หาและกำหนดความรู้องค์กรจาก Procedure, Work Instruction ด้วย Competency Matrix ที่สอดคล้องกับธุรกิจได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ
  5. สามารถวิเคราะห์หาและคัดเลือกผู้รู้ในองค์กร (GURU) เพื่อดูดซับและถ่ายทอดความรู้ ด้วย Competency Matrix ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ
  6. สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และรองรับการ Audit เกี่ยวกับองค์ความรู้องค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม 

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :  

ส่วนที่  1  :  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management Introduction)

  • รหัสลับของความรู้องค์กร ข้อกำหนด 7.1.6 ของ ISO9001:2015
  • ความเหมือนและความแตกต่างของการจัดการความรู้ ข้อ 7.1.6 และการจัดการความสามารถ ข้อ 7.2 (Knowledge Management VS Competency Management)
  • การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ อะไร ? 
  • วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
  • จัดการความรู้แล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
  • แนวคิดในการจัดการความรู้
  • ชนิดของความรู้ (Type of Knowledge)
  • ใครควรมีหน้าที่ในการจัดการความรู้องค์กร ?

ส่วนที่  2  : การแปลงหลักการระบบการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ (Exchanging of Knowledge Management System Principles into Practice)

  • หลักการ 8 ข้อของระบบการจัดการความรู้ (ISO 30401:2018)
  • Workshop 1 : ฝึกวิเคราะห์แนวทางการแปลง 8 หลักการของระบบการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ

ส่วนที่  3  :  8 ขั้นตอนของระบบการจัดการความรู้องค์กร (Knowledge Management Process)

  • 8 ขั้นตอนของระบบการจัดการความรู้องค์กร
  • ภาพรวมของการจัดการองค์ความรู้ให้เชื่อมโยงวิสัยทัศน์ และพันธกิจองค์กร จาก Procedure และ Work Instruction 

ส่วนที่  4  :  เทคนิคการค้นหาและกำหนดความรู้องค์กรจาก Procedure และ Work Instruction ด้วย Competency Matrix ที่สอดคล้องกับธุรกิจ (Knowledge Vision based on Competency Matrix : KV)

  • 6 แหล่งขุมทรัพย์ความรู้ขององค์กรในการกำหนด Competency Matrix ของหน่วยงาน
  • 6 ความรู้หลักขององค์กรที่ต้องได้รับการจัดการให้สอดคล้องกับธุรกิจและข้อกำหนด ISO 9001 (Knowledge Vision : KV)
  • แนวทางการค้นหาและกำหนดหัวข้อความรู้องค์กรจาก Procedure และ Work Instruction ด้วย Competency Matrix
  • ตัวอย่างที่ การวิเคราะห์หาและกำหนดหัวข้อความรู้องค์กรจาก Procedure และ Work Instruction ด้วย Competency Matrix
  • Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์หาและกำหนดหัวข้อความรู้องค์กรจาก Procedure และ Work Instruction ด้วย Competency Matrix

ส่วนที่  5  :  เทคนิคการค้นหาและคัดเลือกผู้รู้ในองค์กร เพื่อดูดซับและถ่ายทอดความรู้ ด้วย Competeny Matrix (GURU Analysis based on Competency Matrix)

  • เทคนิคการค้นหาและคัดเลือก GURU ในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
  • ตัวอย่างที่ การค้นหาและคัดเลือก GURU ในองค์กร จาก Competency Matrix
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์หาและคัดเลือก GURU ในองค์กร
  • แนวทางการดูดซับความรู้และประสบการณ์จาก GURU สู่องค์กร 

ส่วนที่  6  :  12 แนวทางการส่งมอบ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing : KS)

  • แนวทางการส่งมอบ ถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ 
  • ตัวอย่างแนวทางปฏิบัติในการสกัดและสร้างองค์ความรู้องค์กร

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ : 

ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการฝ่าย ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก หัวหน้าแผนก และเจ้าหน้าที่ DCC 

ระยะเวลาในการเรียนรู้ : 

จำนวน 1 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

รูปแบบและวิธีการในการเรียนรู้ : 

  • การบรรยาย (Lecture)  ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่ช่วยให้ผู้เรียนรู้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)เชิงปฏิบัติการ: เพื่อนำไปปรับใช้งานในองค์กร
  • การระดมความคิด (Brain Strom) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน(Discussion) และการนำเสนอความคิดเห็น
  • การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com 

Visitors: 303,481