การนำ OKRs ไปใช้ในการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective OKRs in Action) โดย อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
Objective & Key Results (OKRs) คือ การตั้งเป้าหมายของบุคลากรแต่ละคนในองค์กรแบบมีส่วนร่วม โดยที่ทุกๆ Key Results ของทุกๆ คน สอดคล้องกับ Objective และสอดล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กร
แต่ในทางปฏิบัติอาจประสบกับปัญหาในด้านต่างๆ เช่น
- บุคลากรที่มียังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง OKRs
- OKRs ไม่วัดงานRoutine อ้าว ! แล้วจะวัดอะไร ???
- OKRs คือ Project และ Project คือ OKRs เท่านั้นหรือ ?
- ไม่สามารถแยกความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง OKRs (Objective & Key Results) กับ KPIs (Key Performance Indicators)
- ออกแบบและกำหนด OKRs แต่ไม่เชื่อมโยงกับสอดล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กร
- ออกแบบและกำหนด Key Results แต่ไม่เชื่อมโยงกับสอดล้องกับ Objective
- ไม่รู้เทคนิคและวิธีออกแบบและกำหนด OKRs ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกันทั้งองค์กร
- ไม่รู้จะกำหนดแนวคิดที่ทำให้องค์กรบรรลุ OKRs ได้อย่างไร
- ไม่รู้แนวทางในการนำ OKRs ไปต่อยอดการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร
- หากมี KPIs ระบบ ISO9001/IATF16949 จะแปลงไปเป็น OKRs ได้หรือไม่ ? ถ้าได้จะทำอย่างไร ?
- ไม่รู้วิธีการและเทคนิคเชื่อมโยง OKRs สู่ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
หลักสูตรฝึกอบรมสถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ ที่จะช่วยไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นสู่ Effective OKRs in Action ในรูปแบบ “การเรียนรู้ที่กระชับ เข้าใจง่าย และมี Workshop ฝึกปฏิบัติที่นำ OKRs ไปปรับใช้งานได้จริง”
วัถตุประสงค์ของการอบรม : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และขั้นตอนการจัดทำ OKRs (Objective and Key Results) มาปรับประยุกต์ใช้ในองค์การ
- เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง KPIs (Key Performance Indicators) และ OKRs
- สามารถนำ OKRs ไปปรับใช้งานโดยการกำหนดและทบทวน Company’s Objective ให้สอดคล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กรได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
- สามารถประยุกต์ใช้ Balance Score Card ในการกำหนด Objective และ Key Results ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
- สามารถนำ OKRs ไปปรับใช้งานโดยการกำหนด OKRs ด้วยหลักการ S.M.A.R.T. Goals ให้สอดคล้องกับ Company’s OKRs และ Department’s OKRs และวัดผลลัพธ์ของงานได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
- สามารถนำ OKRs ไปปรับใช้งานโดยการกำหนดกลยุทธ์ หรือแนวคิดริเริ่มให้องค์กร/หน่วยงานให้สอดคล้องกับ OKRs ของตนเองได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
- สามารถจัดทำ OKRs Template ในการติดตามและทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานได้
- สามารถปรับเปลี่ยน KPIs ให้เป็น OKRs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำ OKRs ไปประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อสำคัญการอบรม :
ส่วนที่ 1 : หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ OKRs (OKRs Introduction)
- ความหมายของ OKRs
- ความสำคัญของ OKRs
- องค์กรลักษณะใดควรใช้ OKRs
- Mindset ของ CEO และพนักงาน
- ความเหมือนและความต่างระหว่าง KPIs กับ OKRs
ส่วนที่ 2 : แนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย OKRs
- การสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้วย OKRs
- ข้อควรระวังในการจัดทำ OKR (Mistaken about OKR)
ส่วนที่ 3 : ขั้นตอนการนำ OKRs มาใช้ (OKRs Process)
- ประเภทของ OKRs ทั้ง 5 ระดับ: Company’s OKRs, Department’s OKRs, Section’s OKRs, Team’s OKRs, Position’s OKRs
- ขั้นตอนการนำ OKRs มาใช้ (OKRs Process)
ส่วนที่ 4: วิธีการและเทคนิคการกำหนด OKRs ให้สอดคล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กร(Techniques OKR linked to Vision and Mission of Company)
- แนวทางการกำหนดและทบทวนวัตถุประสงค์หลักขององค์กร (Review Objective) ให้สอดคล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กร
- การสื่อสารความคาดหวังของ MD หรือ CEO เพื่อให้ตอบสนองเป้าหมายองค์กร โดยใช้ Strategic mapping (Objective alignment )
- แนวทางการนำ Balance Score Card (BSC) มาใช้กำหนด Objective และ Key Results ให้ชัดเจน
- Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติกำหนดและทบทวน Company’s Objective ให้สอดคล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กร
ส่วนที่ 5 : วิธีการและเทคนิคการตั้งเป้าหมายการทำงานด้วย OKRs ให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร (OKRs Cascade Techniques)
- แนวปฏิบัติการตั้งเป้าหมายการทำงานด้วย OKRs ให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร
- Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติCompany’sOKRs Cascade สู่ Department’s OKRs
ส่วนที่ 6 : วิธีการและเทคนิคการกำหนด OKRs ภาคปฏิบัติ (OKRs Techniques in Practice)
- หลักการในการตั้ง Objective ที่ดีและมีความเหมาะสม
- Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติกำหนด Objective ของ OKRs (Step 1)
- เทคนิคในการกำหนด Key Result ด้วยหลักการ S.M.A.R.T. Goals
- กำหนด OKRs อย่างไรให้ชัดเจน และสามารถติดตามผลเป็นตัวเลขได้ ?
- Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติกำหนด Department’s OKRs / Section’s OKRs (Step 2)
ส่วนที่ 7 : วิธีการและเทคนิคการกำหนดโครงการ OKRs (OKRs Project Assignment)
- แนวทางการกำหนด OKRs Project Assignment ภาคปฏิบัติ
ส่วนที่ 8 : วิธีการและการกำหนดกลยุทธ์หรือแนวคิดริเริ่มการดำเนินงานสู่ความสำเร็จตาม OKRs (OKRs Initiative or OKRs Tactics)
- แนวทางการกำหนดกลยุทธ์หรือแนวคิดริเริ่มการดำเนินงานสู่ความสำเร็จตาม OKRs
- Workshop 5 : ฝึกปฏิบัติกำหนด OKRs Initiative or OKRs Tactics (Step 3)
ส่วนที่ 9 : วิธีการและเทคนิคการติดตามและประเมินผลลัพธ์การดำเนินงานตาม OKRs ด้วยแผนปฏิบัติงานและOKRs Template
- วงรอบในการติดตามและทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานตาม OKRs
- แนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ OKRs และOKRs Initiative
- แนวทางการจัดทำ OKRs Template ในการติดตามและทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงาน
- Workshop 6 : ฝึกปฏิบัติจัดทำ OKRs Template ในการติดตามและทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงาน
ส่วนที่ 10 : ถ้าองค์กรมี KPIs อยู่จำเป็นต้องยกเลิก แล้วใช้ OKRs แทนหรือไม่
- แนวทางการปรับเปลี่ยน KPIs ให้เป็น OKRs
- Workshop 7 : ฝึกปฏิบัติการปรับแต่ง KPIs ให้กลายเป็น OKRs ด้วย BSC
ส่วนที่ 11 : ฉีกกฎ OKRs ในการเชื่อมโยง OKRs สู่การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- ความเชื่อมโยงของ OKRs กับระบบบริหารผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ (Modern Performance Management System)
- แนวทางการประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Performance Appraisal)
- แนวทางการนำ OKRs ไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal based on OKRs)
ระยะเวลาการเรียนรู้ :
จำนวน 1-2 วัน
วิธีการ/รูปแบบในการเรียนรู้ :
- การบรรยาย (Lecture) จากประสบการณ์ตรง ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยมุ่งเน้นการกระตุ้น/ระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมระหว่างฝึกอบรม (Participative Techniques)
- การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนองาน
- การแชร์ การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ QMR ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าแผนก คณะกรรมการ ISO ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และบุคลากรทุกระดับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838
E-mail : peopledevelop@outlook.com