คณะกรรมการสวัสดิการยุคใหม่...พนักงาน Like ฝ่ายบริหาร Share รุ่นที่ 16 (Super Modern Welfare Committee) : 20 กุมภาพันธ์ 2568

ไม่ใช่แค่บทบาท หน้าที่ตามกฏหมาย และกฏหมายเกี่ยวกับสวัสดิการ !!!

คณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นตัวแทนของลูกจ้างร่วมปรึกษาหารือกับนายจ้างในการจัดสวัสดิการ และเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความต้องการสวัสดิการของลูกจ้างให้นายจ้างทราบ รวมทั้งร่วมปรึกษาหารือให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนตรวจสอบ ดูแล การจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการ และสร้างความพึงพอใจให้แก่นายจ้างและเพื่อนพนักงาน  ด้วยเหตุนี้คณะกรรม  การสวัสดิการฯ ที่ดีต้องมีจิตสำนึกการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร (Sense of Ownership) ต้องมีเทคนิคในการดำเนินการประชุม ต้องมีเทคนิคในการสื่อสาร และมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารสวัสดิการที่บริษัทฯ มีอยู่ในเกิดประโยชน์สูงสุดแบบ WIN-WIN แก่ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง

สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรขึ้นจากประสบการณ์ในการบริหาร คณะกรรมการสวัสดิการฯ มากว่า 27 ปี ที่จะช่วยให้คณะกรรมการสวัสดิการฯ ของท่านมีมุมมองใหม่ในการบริหารสวัสดิการให้สอดคล้องกับนโยบายทิศทางขององค์กร และความต้องการของพนักงาน บนพื้นฐานของความเป็นไปได้   

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้  : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

  1. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และศักยภาพในการดำเนินงานตามบทบาท หน้าที่ของคณะกรรมการสวัสดิการฯ ที่ดี
  2. สามารถกำหนดคุณลักษณะที่ดีของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการได้
  3. เสริมสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กรของคณะกรรมการสวัสดิการ
  4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสวัสดิการในสถานประกอบการ
  5. เสริมสร้างมุมมองและเทคนิคในการบริหารสวัสดิการยุคใหม่ที่สอดคล้องกับนโยบายและทิศทางขององค์กร และความพึงพอใจของพนักงาน
  6. สามารถวิเคราะห์และกำหนดประเด็นที่คณะกรรมการสวัสดิการฯ ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาการดำเนินงานในวาระของตนได้อย่างเป็นรูปธรรม
  7. เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการให้ความร่วมมือและทำงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการสวัสดิการฯ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และหัวหน้างาน และลดข้อขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินงาน
  8. สามารถวิเคราะห์เพื่อจัดการสวัสดิการที่บริษัทมีอยู่ให้เกิดความพึงพอใจแก่พนักงานและฝ่ายบริหาร
  9. เสริมสร้างมุมมองและแนวทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการสวัสดิการกับพนักงานและฝ่ายบริหาร
  10. สามารถจัดทำแผนงานสื่อสารการบริหารสวัสดิการในองค์กรร่วมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
  11. สามารถนำความรู้ และเทคนิคที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานสวัสดิการในสถานประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

หัวข้อสำคัญการเรียนรู้ 

ส่วนที่  1  :  เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ

(Introduction to Welfare Committee)

  • ความหมายของคณะกรรมการสวัสดิการ (คกส.) 
  • ความหมายของสวัสดิการแรงงาน
  • ประโยชน์ของการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
  • 15 บทบาท PDCA ของคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ
  • Workshop 1 : คกส. ที่ดีควรคุณลักษณะของ Head-Hand-Heart อย่างไรหนอ ? 

ส่วนที่  2  :  การปลูกจิตสำนึกการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กรของคณะกรรมการสวัสดิการ

(Sense of  Ownership)

  • 3S จิตสำนึกรักองค์กร (Stay-Stop-Start)
  • ใจของคณะกรรมการสวัสดิการผู้ที่มีความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าขององค์กร 

ส่วนที่  3  :  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการ

(Responsibilities of The Employer to The Welfare Committee) 

  • 4 หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการ 

ส่วนที่  4  :  กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานสวัสดิการในสถานประกอบการ

(Thai Labor Laws Relating to Welfare Management in Company)

  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานสวัสดิการในสถานประกอบการ
  • บทกำหนดโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารสวัสดิการกรณีฝ่าฝืน 

ส่วนที่  5  :  แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการอย่างมีประสิทธิภาพ

(Effective Welfare Committee Guidelines)  

  • 6 รูปแบบของการดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการฯ ร่วมกับนายจ้างหรือตัวแทนฝ่ายนายจ้าง
  • แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการอย่างมีประสิทธิภาพ 

ส่วนที่  6  :  เทคนิคการบริหารงานสวัสดิการตามแนวทางการประกวดสถานประกอบการดีเด่นด้านสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์ 

(Welfare Management Technique According to the Best Practices Contest for Welfare and Labor Relations)  

  • การดำเนินงานเกี่ยวกับคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการตามแนวทางการประกวดสถานประกอบการดีเด่นด้านสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์

ส่วนที่  7  :  การสำรวจและบริหารสวัสดิการที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแบบ WIN-WIN

(Survey and Management of Welfare Available)

  • แนวทางการสำรวจความพึงพอใจในสวัสดิการที่มีอยู่ด้วย Welfare Visual Awakening Dialog
  • Workshop 2 : การสำรวจความพึงพอใจในสวัสดิการที่มีอยู่ด้วย Welfare Visual Awakening Dialog
  • แนวทางการนำผลจาก Welfare Visual Awakening Dialog ไปบริหารสวัสดิการที่มีอยู่ในเกิดประโยชน์สูงสุดแบบ WIN-WIN  

ส่วนที่  8  :  แนวทางการประชุมปรึกษาหารือระหว่างฝ่ายนายจ้างกับคณะกรรมการสวัสดิการ

(Guidelines for Meeting between The Employer and The Welfare Committee)

  • 15 แนวทางการประชุมปรึกษาหารือสำหรับคณะกรรมการสวัสดิการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สวัสดิการตามที่กฏหมายกำหนดที่ควรจะนำเข้าหารือกับฝ่ายนายจ้าง
  • สวัสดิการนอกเหนือที่กฏหมายกำหนดที่อาจจะนำเข้าหารือกับฝ่ายนายจ้างตามสถานการณ์และความเหมาะสม
  • แนวทางในการนำผลจากการหารือไปบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแบบ Win-Win

ส่วนที่  9  :  การสื่อสารและประสานงานในการบริหารสวัสดิการแบบมีส่วนร่วม

(Communication and Coordination in Participatory Welfare Management)

  • แนวทางการสื่อสารและประสานงานแบบ Positive Action ของคณะกรรมการสวัสดิการที่มีประสิทธิภาพ
  • สวัสดิการใดที่ควรสื่อสารให้พนักงานรับทราบ
  • แนวทางการจัดทำแผนงานสื่อสารการบริหารสวัสดิการในองค์กร
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติจัดทำแผนงานสื่อสารการบริหารสวัสดิการในองค์กร 

ส่วนที่  10  :  ข้อควรคำนึงในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสวัสดิการ

(Do and Don’t of The Welfare Committee)  

  • 16 ข้อควรคำนึงในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสวัสดิการ 

รูปแบบ/วิธีการเรียนรู้ 

  1. การบรรยาย (Lecture) จากประสบการณ์ที่ทำมากับมือ
  2. การทำ Workshop เชิงปฏิบัติการ ที่สามารถนำไปใช้งานจริงได้ทันที
  3. การนำเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  4. การตอบข้อซักถาม : เพื่อเสริมสร้างความรู้เข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม  

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ 

คณะกรรมการสวัสดิการ หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก ผู้จัดการ และฝ่ายทรัพยากรบุคคล

วิทยากร  :  อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น) 

  • กรรมการผู้จัดการ สถาบัน People Develop Center  
  • วิทยากร ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้าน HR เชิงกลยุทธ์ จากประสบการณ์ 35 ปี
  • วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
  • วิทยากรพิเศษด้าน HR คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย

วันและเวลาอบรม 

รุ่นที่  16  วันที่  20  กุมภาพันธ์  2568  ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

สถานที่อบรม 

REMBRANDT HOTEL สุขุมวิท 18, 20 กรุงเทพฯ (ใกล้ BTS อโศก, ใกล้ MRT สุขุมวิท)

ค่าลงทะเบียนอบรม 

พิเศษ 1 เพียง 3,900 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat) ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วันทำการ

             ราคาปกติ 4,200 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat)

พิเศษ 2 ปรึกษาฟรีก่อน และหลังการอบรม

พิเศษ 3 ลงทะเบียน 5 ท่าน ชำระเพียง 4 ท่าน

วิธีการชำระค่าลงทะเบียน : 

โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.  

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก(หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 4057769552 

บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น  

ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง  


คำแนะนำในการชำระเงิน 

  • โปรดส่งสำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร  Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
  • เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน 


ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด เลขที่ 22/20 หมู่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502 

กรณียกเลิกการอบรมกรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนอบรม หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าอบรมเพื่อรับเอกสาร   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 305,844