เทคนิคการออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ด้วย KPI และ Competency (Modern Performance Appraisal Techniques base on KPI & Competency) โดย อาจารย์ ธนุเดช ธานี
องค์กรของท่านเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้บ้างไหม ?
- มีระบบ ISO9001 แล้ว แต่ KPIs และ Competency ที่มียังไม่ชัดเจนและขาดความเชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร และการประเมินผล
- KPIs ที่มี จะกำหนดอย่างไรชัดเจน เป็นรูปธรรม ท้าทาย สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และเชื่อมโยงกับ Objective ?
- หากกำหนด KPIs และ Competency ได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม แต่จะเชื่อมโยงการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไร ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักข้อมือของผู้บังคับบัญชาในการประเมิน ?
- แต่ละฝ่าย/แผนกมีเป้าหมายและตัวชี้วัดไม่เหมือนกัน จะประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไรให้มีความเป็นธรรมระหว่างฝ่าย/แผนก/ตำแหน่งงาน ?
- จะประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไรดี ให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายของบริษัท และกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท ?
- ไม่รู้จะประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไรให้ยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของพนักงาน
- หากประเมินผล KPIs และ Competency แล้ว จะเชื่อมโยงสู่ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานอย่างไรให้เป็นรูปธรรม เช่น การจัดทำพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) การส่งเสริมเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) การสอนงานและติดตามผล (Performance Coaching & Performance Monitoring) เป็นต้น
สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้นจากประสบการณ์ตรงของวิทยากรและที่ปรึกษาที่จะช่วยให้บุคลากรของท่าน เรียนรู้ทางลัดในการออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ ด้วย KPI และ Competency ที่กระชับ เข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างประกอบ และ Workshop ฝึกปฏิบัติที่สามารถนำไป Implement ได้จริงเชื่อมโยงสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) และเป้าหมายขององค์กร (Corporate KPI) โดยที่ผู้เข้ารับอบรมไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้มาก่อน
ประโยชน์ที่องค์กรของท่านจะได้รับ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- สามารถอธิบายขั้นตอน วิธีการ เทคนิคการบริหารผลการปฏิบัติงาน และการประเมินผลงานได้
- เสริมสร้างเทคนิคการกำหนดเกณฑ์และน้ำหนักความสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานขององค์กร และความสามารถของบุคลากร
- เสริมสร้างและพัฒนาเทคนิคการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายธุรกิจ (Corporate KPIs)
- สามารถกำหนด Functional KPIs ระดับฝ่าย/แผนก/หน่วยงานของตนเอง ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และวัดผลได้
- สามารถกำหนด Position KPIs ของเจ้าหน้าที่และพนักงานตามตำแหน่งงานให้เชื่อมโยงกับFunctional KPIs ตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และวัดผลได้
- เสริมสร้างและพัฒนาเทคนิคการกำหนด Competency ในการทำงานของแต่ละตำแหน่งงาน
- เสริมสร้างและพัฒนาเทคนิคการเชื่อมโยง KPIs และ Competency สู่การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นรูปธรรม
- สามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับองค์กรและงานได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นระบบ
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : เครื่องมือสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ ด้วยระบบบริหารผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ (Performance Management System : PMS)
- การบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management) กับการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจ
- ความเชื่อมโยงของ KPIs และ Competency กับการบริหารผลการปฏิบัติงาน
ส่วนที่ 2 : การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPIs และ Competency (Performance Appraisal base on KPIs & Competency)
- 4 เครื่องมือสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ (Modern Performance Appraisal : MPA) ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy)
- แนวทางการกำหนดเกณฑ์และน้ำหนักความสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ด้วย KPIs และ Competency
- ตัวอย่างที่ 1 : เกณฑ์และน้ำหนักความสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
ส่วนที่ 3 : กำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายธุรกิจอย่างไรให้ขยายผลได้ทุกสายงาน ??? (Corporate KPIs)
- ประเภทของ KPIs
- วิธีการกำหนดเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs) ด้วย Balance Scorecard (BSC) เพื่อวัดผลลัพธ์การดำเนินงานขององค์กร (Key Results)
- ตัวอย่างที่ 2 : เป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
- แนวทางการกระจายเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs) สู่เป้าหมายระดับฝ่ายงาน (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกันทุกฝ่ายงาน
- ตัวอย่างที่ 3 : การกระจายเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs) สู่เป้าหมายระดับฝ่ายงาน (Functional KPIs)
ส่วนที่ 4 : เทคนิคการกำหนดเป้าหมายการทำงาน ระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก และหัวหน้างาน (Functional KPIs)
- ขั้นตอนการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของหน่วยงานด้วย Functional KPIs ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
- วิธีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของฝ่าย/ส่วน/แผนก/หน่วยงานด้วย Functional KPIs ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
- เทคนิคการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) ตัวชี้วัดผลลัพธ์หลักของงาน (Key Performance/Key Result) และการตั้งเป้าหมายการทำงาน (Target) อย่างมีประสิทธิภาพ
- Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติกำหนด Functional KPIs ของหน่วยงาน ให้เชื่อมโยงกับ เป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
ส่วนที่ 5 : เทคนิคการกำหนดเป้าหมายการทำงานเจ้าหน้าที่ และพนักงาน ด้วย Position KPIs / Individual KPIs
- 4 เครื่องมือยอดฮิตที่ใช้ในการวิเคราะห์และกำหนด Position KPIs
- ขั้นตอนและวิธีการจัดทำ Position KPIs จากใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description)
- วิธีการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของตำแหน่งงานด้วย Position KPIs
- Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติกำหนด Position KPIs ให้เชื่อมโยงกับ Functional KPIs ของผู้บังคับบัญชา
ส่วนที่ 6 : การกำหนดขีดความสามารถในการทำงานของแต่ละตำแหน่งงาน (Competency)
- ความแตกต่างระหว่าง Key Performance Indicators กับ และ Competency
- แนวทางการกำหนด Competency ในการประเมินขีดความสามารถบุคลากรจาก Job description
- แนวทางการแปลง Competency จาก Training Road Map สู่การประเมินความสามารถประจำปีที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร
ส่วนที่ 7 : เทคนิคการทบทวนและออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ ด้วย KPIs และ Competency
- การออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ ด้วย KPIs
- ตัวอย่างที่ 4 : แบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPIs ที่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร
- Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติออกแบบและทบทวนแบบประเมินผลการปฏิบัติ ด้วย KPIs
- การออกแบบการประเมินขีดความสามารถสมัยใหม่ ด้วย Competency
- ตัวอย่างที่ 5 : แบบประเมินขีดความสามารถประจำปีแบบ 4 ระดับความสามารถ (Competency Assessment) ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
- Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติออกแบบและทบทวนแบบประเมินผลการปฏิบัติด้วย Competency
ส่วนที่ 8 : เทคนิคการเชื่อมโยงการประเมินผลการปฏิบัติงานกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน
- การบริหารผลการปฏิบัติงานหลังการประเมินผล กับแผนพัฒนารายบุคคล (Performance Appraisal linked to Individual Development Plan : IDP)
- การบริหารผลการปฏิบัติงานหลังการประเมินผล ด้วยการส่งเสริมเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)
- การบริหารผลการปฏิบัติงานหลังการประเมินผล ด้วยการสอนงานและติดตามผล (Performance Coaching and Performance Monitoring)
หมายเหตุ : หัวข้อและ Workshop การเรียนรู้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการขององค์กร
ระยะเวลาการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ :
จำนวน 1-2 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.
รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ :
- การบรรยาย
- ประกอบการแชร์ประสบการณ์ตรง
- การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) ในการปฏิบัติจริง
- ประชุมระดมความคิด นำเสนอผลงาน
- ซักถาม การแลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าแผนก และฝ่ายทรัพยากรบุคคล
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฐิตาภา (ไก่)
Hotline : 095-853-5513, 091-738-7838
E-mail : peopledevelop@outlook.com