การบริหารการเปลี่ยนแปลง 4 M ในกระบวนการผลิต (4 M Change in Production Process) โดย อาจารย์ อนันต์  ดีโรจนวงศ์

ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (Man: คน, Method: วิธีการ, Machine: เครื่องจักร, Material: วัตถุดิบ) เป็นสิ่งสำคัญและเป็นตัวแปรในการผลิตสินค้าให้ได้ตามปริมาณและส่งมอบได้ทันตามที่ลูกค้ากำหนด เราจึงควรให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยทั้ง 4 นี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับในแต่ละองค์กรในการบริหารจัดการความต้องการ ความสามารถ และการติดตามว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และอาจจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการผลิตได้ อันเนื่องจากความแปรปรวนที่เกิดขึ้นทั้งที่คาดการณ์ไว้แล้วและที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตหรือสูตรการผลิตสินค้า รวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากทั้งตัวลูกค้าและคู่ค้าเองก็ตาม ดังนั้นการบริหารการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง 4 นี้จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในผลผลิตที่ส่งมอบให้กับลูกค้าด้วยการลดความแปรปรวนและผลกระทบให้ลดลง โดยมีเป้าหมายที่จะควบคุมให้การผลิตให้มีคุณภาพที่ดีตรงตามที่ลูกค้ากำหนด ด้วยความสม่ำเสมอ และสามารถผลิตสินค้าได้ตรงตามแผนการผลิตด้วยการบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง 4 ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน   

วัตถุประสงค์

1. เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ด้วยการลดความแปรปรวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง 4 ในการผลิตสินค้า

2. ลดต้นทุนการผลิตสินค้าด้วยการบริหารจัดการและควบคุมปัจจัยทั้ง 4 ได้อย่างสม่ำเสมอ

3. สามารถผลิตสินค้าได้ตามปริมาณและจัดส่งได้ตามเวลาที่ลูกค้ากำหนด

4. สร้างความเชื่อมั่นในการผลิตสินค้าขององค์กรในสายตาของลูกค้าได้เพิ่มขึ้น

5. สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง 4 ได้อย่างถูกต้อง

6. เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรการผลิต ลดของเสียได้อย่างได้ผล

7. มีมาตรฐานการผลิตที่ดี และมีการพัฒนามาตรฐานการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

8. สามารถผลิตสินค้าได้ตามคุณภาพที่ลูกค้าต้องการ    

หัวข้อการอบรม

  1. ความสำคัญของการบริหารการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ด้าน 
  2. กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ด้าน
  3. กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทั้ง 4 ด้าน
  4. ข้อมูลและเอกสารแบบฟอร์มในการควบคุมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง 4 ด้าน
  5. เครื่องมือในการควบคุมปัจจัยทั้ง 4 ด้านของการผลิต (FMEA, QCC & QC 7 Tools, Poka Yoke, Kaizen, 5S, Standardized Work, TPM)                  
  6. การบริหารและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงปัจจัยทั้ง 4 ด้าน
  7. กรณีศึกษา (Case Study)

ระยะเวลาอบรม          

จำนวน 1 วัน (6 ชั่วโมง)

รูปแบบการฝึกอบรม

  • การบรรยาย
  • การให้คำแนะนำ
  • ให้คำปรึกษา
  • กรณีศึกษา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 286,751