การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Customer Demand Forecasting) โดย อาจารย์ อนันต์ ดีโรจนวงศ์

การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้านั้น มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากในธุรกิจการผลิตและการขายสินค้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมีความไม่แน่นอนหรือความแปรปรวนในความต้องการสินค้าของลูกค้าอยู่เสมอและผู้ผลิตไม่สามารถควบคุมหรือจัดการให้อยู่ในความควบคุมได้โดยง่าย โดยเฉพาะในปัจจุบันการแข่งขันการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามีความเข้มข้นและรุนแรงเป็นอย่างมาก ผู้ใดสามารถผลิตและขายสินค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริงย่อมเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ส่วนผู้ใดไม่สามารถผลิตและขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ตามที่ลูกค้าต้องการก็จะต้องล่มสลายไปในที่สุด โดยมีปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้เกิดการล่มสลายได้เช่น ธุรกิจขาดความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการสินค้าของลูกค้า, สินค้าที่ผลิตล้าสมัยและไม่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง, การแข่งขันด้านราคา, นวัตกรรมการผลิตสินค้าที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วจนธุรกิจปรับตัวตามไม่ทัน, การขาดความเอาใจใส่ของเจ้าของธุรกิจ, ปัญหาด้านการเงิน, ปัญหาด้านการผลิตและการวางแผนการผลิต ตลอดจนปัญหาด้านการจัดการโซ่อุปทาน


การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าทำเพื่ออะไร

  1. เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ใกล้เคียงปริมาณความต้องการของลูกค้ามากขึ้น
  2. เพื่อสามารถผลิตและขายสินค้าตามปริมาณและเวลาที่ลูกค้าต้องการได้อย่างใกล้เคียงมากขึ้น
  3. ลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้ โดยไม่ต้องผลิตสินค้าก่อนการส่งมอบทุกครั้ง ด้วยการลดเวลาการ Setup เครื่องจักร และลดเวลาการใช้เครื่องจักรรวมถึงพนักงานในการผลิตสินค้านอกเวลา (Over time)
  4. ลดจำนวนเครื่องจักรในการผลิตในกรณีที่มีคำสั่งซื้อมากๆหรือบ่อยๆ
  5. ลดปริมาณสินค้าคงคลังลงได้ ด้วยการเพิ่มรอบการหมุนเวียนสินค้าได้เร็วขึ้น รวมถึงทำให้ต้นทุนการ

ถือครองสินค้าต่ำลง

 

หัวข้อการอบรม

  1. ความหมายและประโยชน์ของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า
  2. การกำหนดขอบเขตและระยะเวลาของการพยากรณ์อย่างได้ผล (Forecast Horizontal and Purpose)
  3. ข้อมูลและขั้นตอนของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Data Collection& Preparation and Process)
  4. รูปแบบของความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand Trend)
  5. การพยากรณ์ข้องมูลแบบเป็นฤดูกาล (Seasonal Trend Forecasting)
  6. การกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (Economic Order Quantity)
  7. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดค่า Stock levels (Factors to consider in determining stock levels)
  8. การกำหนดค่า Safety Stock และรอบการสั่งซื้อที่เหมาะสม 

ระยะเวลาในการเรียนรู้ :  

จำนวน 1 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.  

วิธีการในการเรียนรู้ :  

  • การบรรยาย (Lecture) 
  • การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนองาน 
  • การตอบข้อซักถาม  

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 286,594