ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้าน Logistics ด้วยหลักการ Lean Manufacturing สำหรับอุตสาหกรรม (Logistics Cost Reduction in Lean Manufacturing) โดย อาจารย์ อนันต์  ดีโรจนวงศ์

ปัจจุบันการจัดการกระบวนการขององค์กรที่ดี จะต้องพร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่งรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความต้องการของลูกค้า ภาวะการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น สิ่งต่างๆ  เหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สิ่งที่ผู้บริหารองค์กร กระทำได้คือ ต้องทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และหาทางรับมือด้วยการปรับองค์กรให้มีความสามารถรองรับปัญหาดังกล่าว

ต้นทุนโลจิสติกส์เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่แฝงอยู่ในทุกกิจกรรมทางธุรกิจและอุตสาหกรรม เช่น การจัดซื้อ การจัดการคลังสินค้า การจัดเก็บ การขนย้าย การขนส่ง และการกระจายสินค้า ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จึงต้องอาศัยการกำหนดกลยุทธ์และเทคนิคในการจัดการกระบวนการโลจิสติกส์

ระบบการผลิตแบบลีน เป็นเครื่องมือในการจัดการกระบวนการ ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่องค์การ  โดยการพิจารณาคุณค่าในการดำเนินงานเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า มุ่งสร้างคุณค่าในตัวสินค้าและบริการ และกำจัดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรและผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจในที่สุด ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย

 

วัตถุประสงค์

เพื่อให้รู้จักกับระบบการผลิตแบบลีน ว่าคืออะไร มีแนวคิดอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ อันจะช่วยเป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจ และการนำไปใช้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างเหมาะสม เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งได้

 

หัวข้อหลักสูตร     

1. ความสำคัญของการลดต้นทุนโลจิสติกส์แบบ Lean

2. กลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์แบบ Lean

3. การลดต้นทุนด้านการจัดซื้อและจัดหาแบบ Lean

4. การลดต้นทุนด้านการวางแผนการผลิตแบบ Lean

5. การลดต้นทุนด้านการจัดการคลังสินค้าและควบคุมสินค้าคงคลังแบบ Lean

6. การลดต้นทุนด้านขนส่งและกระจายสินค้าแบบ Lean

7. การลดต้นทุนด้านการขายและพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าแบบ Lean

8. เครื่องมือที่ใช้ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้สำเร็จ

9. หลักการ 3 Mu (Muri, Muda, Mura)

10. หลักการสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping)

11. หลักการผลิตและบริการแบบทันเวลาพอดี (Just in Time)

12. หลักการผลิตและบริการแบบดึง (Pull System)

13. หลักการเพิ่มคุณค่าในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์

14. หลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

15. หลักการดำเนินการบริการอย่างมีมาตรฐาน (Standardization)

16. การประยุกต์ใช้หลักการ Lean กับงานด้าน Logistics

 

ระยะเวลาในการเรียนรู้ :  

จำนวน 1 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

 

วิธีการในการเรียนรู้ :  

  • การบรรยาย (Lecture) 
  • การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และร่วมอภิปราย
  • การตอบข้อซักถาม 

 

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :  

หัวหน้างาน / ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร หัวหน้างานผลิตและบริการ พนักงานผลิตและบริการ

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838, 02-061-3276  

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 285,471