การวางแผนและควบคุมการผลิตด้วยหลักการลีน (Lean Production Planning) โดย อาจารย์ อนันต์ ดีโรจนวงศ์

หัวใจของการผลิตสินค้าคือการวางแผนการผลิต การวางแผนการผลิตคือการจัดระเบียบการไหลของงานในระบบ แล้วติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือ เป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการ ตลอดจนทางเลือกต่างๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต เพื่อให้บรรลุตามแผนการที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึง การปฏิบัติตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนรายละเอียดอย่างครบถ้วน เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่ต้องการ

การควบคุมการผลิตคือ การติดตามและเปรียบเทียบผลการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงเพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การวางแผนและการควบคุมการผลิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามโรงงานส่วนใหญ่ที่มีแผนการผลิตและควบคุมการผลิตที่ชัดเจนและปฏิบัติได้อย่างเคร่งครัดนั้นมีไม่เกิน 10 % และมีอีกประมาณ 20 % ที่มีแผนการผลิตที่ไม่ชัดเจนหรือมีเพียงบางส่วนและไม่ได้นำมาใช้ในการควบคุมการผลิตอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นไม่เคยมีการวางแผนการผลิตมาก่อน ซึ่งนำมาสู่การเกิดปัญหาด้านการผลิตและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลาจนเห็นเป็นเรื่องปกติของโรงงานไป

การวางแผนการผลิตที่ดีจะทำให้สามารถติดตามงานการผลิตและควบคุมการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการผลิตและส่งมอบที่ไม่ทันหรือไม่ครบถ้วนได้ ที่สำคัญแผนการผลิตที่ดีจะทำให้เราทราบถึงปัญหาก่อนที่มันจะเกิดและถูกป้องกันมิให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นมาอีกได้อีกด้วย

การจัดการผลิตด้วยหลักการลีน (Lean Production Management) เป็นหลักการในการกำหนดคุณค่าของการดำเนินงานผลิตและกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตออกไปได้อย่างเหมาะสม ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และทำให้เวลาการผลิตสั้นลงหรือเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นโดยใช้เวลาเท่าเดิมหรือลดลง ดังนั้นการใช้หลักการลีนมาช่วยในการวางแผนและควบคุมการผลิตจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เปรียบได้เหมือนกับการทำงานที่ไม่เคยมีความผิดพลาดด้วยต้นทุนที่ต่ำรวมถึงสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุดนั่นเอง

 

วัตถุประสงค์ :

เพื่อสามารถจัดระเบียบการไหลของงานในระบบผลิต และติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือเป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการ ตลอดจนทางเลือกต่างๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต เพื่อให้บรรลุตามแผนการที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมถึง การปฏิบัติตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนรายละเอียดอย่างครบถ้วน เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่ต้องการ

คุณประโยชน์ : การวางแผนการผลิตที่ดีจะทำให้สามารถติดตามงานการผลิตและควบคุมการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการผลิตและส่งมอบที่ไม่ทันหรือไม่ครบถ้วนได้ ที่สำคัญแผนการผลิตที่ดีจะทำให้เราทราบถึงปัญหาก่อนที่มันจะเกิดและถูกป้องกันมิให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นมาอีกได้อีก

หัวข้อการอบรม :

  1. การวิเคราะห์เส้นทางการผลิตสินค้าด้วยการสร้างสายธารแห่งคุณค่าการผลิต (Value Stream Mapping)
  2. การวัดค่า Cycle time การผลิตสินค้าแต่ละชนิดอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง
  3. หลักผลิตแบบสมดุลการผลิตในการออกแบบตารางวางแผนผลิตประจำวันสัปดาห์รายวันอย่างเหมาะสม เพื่อสามารถใช้ทรัพยากรการผลิตได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม
  4. ศึกษาและสร้างสูตรการผลิตสินค้า (Bill of Material : BOM) อย่างชัดเจน เพื่อนำไปสร้างตารางแผนการผลิตหลัก MPS (Master Production Schedule) และแผนการใช้วัตถุดิบ (Material Resource Planning) ที่มีประสิทธิภาพ
  5. ใช้หลักการการจัดลำดับงานและตารางการผลิต (Sequencing and Scheduling) ในการจัดลำดับงานการผลิตได้อย่างเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม
  6. การใช้เครื่องมือต่างๆที่มีอยู่ในการจัดการแบบลีน (Lean Tools)
  7. สร้างแผนการผลิตหลัก (Master Production Schedule :MPS) 

ระยะเวลาในการเรียนรู้ :  

จำนวน 1 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

วิธีการในการเรียนรู้ :  

  • การบรรยาย (Lecture) 
  • การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนองาน 
  • การตอบข้อซักถาม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 286,888