การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) โดย อาจารย์ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)

วิธีการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ปฏิบัติมีประสิทธิภาพเพียงพอให้บรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ นโยบาย หรือเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้? ถ้าท่านไม่มั่นใจในวิธีการทำงานแบบเดิม หรือเชื่อว่าวิธีการทำงานแบบเดิมสามารถที่จะปรับปรุงและพัฒนาได้  ด้วยเหตุนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรของท่าน ควรจะเสริมสร้างความรู้และทักษะให้บุคลากรในองค์กรของท่าน  เกี่ยวกับการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน (Procedure) และวิธีการทำงาน (Work Instruction) เพื่อทำงานตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า และปรับปรุงพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่กำลังเผชิญ 

หลักสูตรฝึกอบรมนี้ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น จากประสบการณ์ในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ที่จะช่วยให้บุคลากรองค์กรของท่านเสริมสร้างทักษะการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการบริหารจัดการทรัพยากร  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) อันจะเป็นปัจจัยสำคัญ (Key Success Factor) ในการสนับสนุนให้องค์กรดำเนินธุรกิจสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

วัตถุประสงค์ของการอบรม

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการบริหารจัดการทรัพยากร
  2. เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในด้านองค์ความรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์ให้เกิดความเชี่ยวชาญในสายงาน
  3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างการนำแนวความคิด วิธีการใหม่ๆ มาปรับประยุกต์ใช้กับองค์กร ให้องค์กรเติบโตและทันสมัยอยู่เสมอ
  4. สามารถเสนอแนวคิดในการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นรูปธรรม
  5. เพื่อเป็นการเสริมสร้างการบริหารจัดการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าให้เกิดคุณค่าสูงสุด ทั้งในด้านบริหารงาน ต้นทุนต่างๆ
  6. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ และปรับปรุงวิธีการทำงานภายในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ 

ส่วนที่  1  :  แนวคิดในการปรุงงานเพื่อพัฒนา Quality, Cost, Delivery, Safety (Work Improvement Concept)

  • แนวคิดในการปรับปรุงงาน เพื่อพัฒนา Quality, Cost, Delivery, Safety ในการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร
  • หัวใจสำคัญของการปรับปรุงงาน
  • แนวคิดเชิงบวก (Positive Thinking) เพื่อการปรับปรุงงาน

ส่วนที่  2  : เทคนิคการปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน (Procedure) และวิธีการทำงาน (Work Instruction)ของ ISO9001:2015 / IATF16949:2016 / ISO14001 ด้วย Red Tag

  • ขั้นตอนการปรับปรุง  Flow Chart ของ Procedure และ Work Instructionด้วย Red Tag
  • Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน และวิธีการทำงาน ด้วย Red Tag

ส่วนที่  3  : เทคนิคการปรับปรุงระบบงานด้วยWork Flow ของECRS

  • ขั้นตอนการปรับปรุงระบบงานด้วย Work Flow ของ ECRS
  • Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน และวิธีการทำงาน ด้วย Red Tag

ส่วนที่  4  :  เทคนิคในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องด้วยไคเซ็น (Kaizen)

  • การปรับปรุงงานของตนเองง่าย ๆ ด้วยด้วยไคเซ็น
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติปรับปรุงงานด้วยไคเซ็น (Kaizen) จากปัญหาหรืออุปสรรคในการทำงาน

ส่วนที่  5  :  แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดคุณค่าสูงสุด

  • แนวทางในการบริหารทรัพยากร

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนรู้ 

  1. เสริมสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ความสำคัญ และความจำเป็นในการปรับปรุงงาน เพื่อลดความสูญเสียในองค์กร
  2. สามารถปรับปรุงงานด้วยเทคนิคง่ายๆ เพื่อลดความสูญเสียหรือความสูญเปล่าในการทำงาน 

ระยะเวลาในการเรียนรู้

จำนวน 1 วัน   ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

รูปแบบ/วิธีการในการเรียนรู้

  • การบรรยาย (Lecture)  
  • ประกอบการทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ ประชุมระดมความคิดเห็น
  • การนำเสนอผลงาน
  • การซักถาม
  • การแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) ซึ่งกันและกัน 

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :

ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ทุกคนในองค์กร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ

Tel : 091-738-7838, 095-8535513, 02-061-3276 

E-mail : peopledevelop@outlook.com  

Visitors: 286,270