รุ่น 15 การสร้างความผูกพันต่อองค์กร ที่ผู้บริหารและ HR ทำได้ด้วยตนเอง (Employee Engagement in Practice) : 20 กุมภาพันธ์ 2563
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
- กรรมการผู้จัดการสถาบันฝึกอบรม People Develop Center
- วิทยากรและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน HR จากประสบการณ์กว่า 30 ปี
- อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย
วันสัมมนา :
20 กุมภาพันธ์ 2563 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่สัมมนา :
อไรซ์ โฮเต็ล สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์
หลักการและเหตุผล :
ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริงของวิทยากรในช่วงวิกฤตชีวิตการทำงานที่สหภาพแรงงานกว่า 800 ชีวิตเตรียมล่ารายชื่อขับไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล พนักงานจะไม่ให้ความร่วมมือในการทำงาน มีการปล่อยข่าวจะหยุดประท้วงจนวุ่นวาย พนักงานไม่ไว้วางใจบริษัท หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือผู้บริหาร จนถึงขั้นเจ้าของกิจการไม่มั่นใจในการผลิต CEO ถึงขั้นออกปากว่าอาจจะมีการย้ายฐานการผลิตไปข้ามจังหวัดไปอีกสาขาหนึ่ง
ถ้าท่านและองค์กรของท่านกำลังเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์เหล่านี้ แต่ธุรกิจยังต้องก้าวเดินไปข้างหน้า เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า และพัฒนากลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจ ท่านจะบริหารจัดการอย่างไร?
หลักสูตรนี้มีคำตอบกึ่งสูตรสำเร็จที่จะช่วยท่านสามารถสร้างความผูกพันในองค์กรได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องจ้างที่ปรึกษา ที่วิทยากรสามารถพลิกสถานการณ์มาล้อมรั้วหัวใจพนักงานสร้างความผูกพันพนักงานได้ภายใน 3 เดือน และ Output ด้าน Productivity เพิ่มขึ้น Complain ลดลง Turn Over ลดลง ดัชนีความสุขของพนักงานเพิ่มสูงขึ้นภายใน 6 เดือน
วัตถุประสงค์ของการอบรม : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด หลักการ ขั้นตอน และเทคนิคของการสร้างความผูกพันในองค์กรที่ทำได้ด้วยตนเอง
- เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนและแผนงานการสร้างความผูกพันในองค์กร
- สามารถค้นหาเหตุผลที่บุคลากรอยากอยู่อยากทำงานกับองค์กร และเหตุผลที่พนักงานอยากไปจากองค์กร
- สามารถสร้างความผูกพันในองค์กรแบบง่ายๆ ได้ด้วยตนเองภายหลังการสัมมนา
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : แนวคิดและความหมายของการสร้างความผูกพันต่อองค์กร
- Case Study เรื่องเล่าจากเหตุการณ์วิกฤตการทำงาน
- อาการของปัญหาความไม่ผูกพันต่อองค์กร
- แนวคิดในการบริหารความสุขความผูกพันต่อองค์กร
- ลักษณะของคนที่มีความสุขในการทำงาน
ส่วนที่ 2 : สร้างความผูกพันแล้ว...บุคลากร หน่วยงาน และองค์กรได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
- สร้างความผูกพันในองค์กร แล้วเราจะได้อะไร ?
- ห่วงโซ่แห่งความสุข (Happy Chain)
- 4 มิติ กับ การวัดผลการดำเนินงานองค์กร
ส่วนที่ 3 : Employee Engagement Management Framework สร้างได้ด้วยตนเอง
- พระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับการทำงาน
- ความสุข และความผูกพัน ไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง
- Employee Engagement Management Framework
ส่วนที่ 4 : 5 เครื่องมือพื้นฐานในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร
- เครื่องมือที่ 1 การสร้างความผูกพันและการทำงานเป็นทีม (Engagement Team Building)
- เครื่องมือที่ 2 กิจกรรมสร้างความสุข (Happy Workplace)
- เครื่องมือที่ 3 สร้างจิตของผู้ให้ด้วย Corporate Social Responsibility (CSR) การบำบัดทุกข์บำรุงสุข
- เครื่องมือที่ 4 Employee Relations Management System
- เครื่องมือที่ 5 HRM & HRD System
- Workshop 1 : How to implementation ?
ส่วนที่ 5 : กระบวนการสร้างความผูกพันในองค์กร
- ขั้นตอนในการสร้างความผูกพันในองค์กรที่ทำได้ด้วยตนเอง
- การสำรวจความผูกพันในองค์กร โดยไม่ต้องทำ Employee Engagement Survey
- Workshop 2 : การตรวจจับสัญญาณความผูกพันในองค์กรด้วย Employee Engagement Visual Awakening
ส่วนที่ 6 : การจัดทำแผนงานสร้างความผูกพันในองค์กร “สุข-สร้าง-ได้”
- แนวทางในน้อมนำพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ ๙ “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการสร้างความสุขและความผูกพันในองค์กร
- Happy Employee Engagement Management System
- ขั้นตอนการจัดทำแผนงานสร้างความผูกพันในองค์กรด้วย PDCA(Easy Employee Engagement Plan)
- Workshop 3 : การน้อมนำพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ ๙ “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา” มาจัดทำแผนงานสร้างความผูกพันในองค์กร
- ตัวอย่างแผนงานสร้างความผูกพันในองค์กร
ส่วนที่ 7 : การสำรวจความผูกพันในองค์กรแบบง่าย ๆ
- สำรวจความผูกพัน...ไปทำไมกัน ???
- การล้อมรั้วหัวใจของพนักงานกับผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กร
- ตัวอย่างแบบสำรวจความผูกพันในองค์กรแบบง่ายๆ (Employee Engagement Survey)
- การตรวจจับสัญญาณความไม่ผูกพันในองค์กร (Employee Engagement Signal)
วิธีและรูปแบบการเรียนรู้ :
- การบรรยาย (Lecture) และการยกตัวอย่างประสบการณ์ ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Center) ที่มีการระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมระหว่างฝึกอบรม (Participative Techniques) ช่วยให้ผู้เรียนรู้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที
- การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ : เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
- การระดมความคิด (Brain Strom) และการนำเสนอความคิดเห็น
- การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
ผู้ที่ควรเข้ารับการสัมมนา :
เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์ และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบการอบรม :
o การบรรยาย (Lecture) ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่มีการระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมระหว่างฝึกอบรม (Participate Techniques) ช่วยให้ผู้เรียนรู้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที
o การแชร์ Case ประสบการณ์ตรง
o การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) และการระดมความคิด (Brain Stroming) และการนำเสนอความคิดเห็น
o การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
วิธีการชำระค่าลงทะเบียน
โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.
• ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่ 405-776955-2
บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น
ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง
คำแนะนำในการชำระเงิน
• โปรดชำระเงินที่เคาน์เตอร์ของธนาคาร
• เมื่อชำระเงินแล้ว โปรด Fax. สำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% โดยระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร มาที่บริษัทฯ ก่อนวันฝึกอบรม
• ตัวจริงของเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% กรุณานำมาให้ในวันสัมมนา
หากเอกสารไม่ครบ จะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน
ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด
เลขที่ 22/20 หมู่ที่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0125558000502
หมายเหตุ : กรณียกเลิกการเข้าสัมมนา กรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนวันงาน หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าสัมมนาเพื่อรับเอกสาร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 091-738-7838, 095-8535513, 02-061-3276
E-mail : peopledevelop@outlook.com