การสร้างความผูกพันต่อองค์กรเชิงกลยุทธ์ รุ่นที่ 26 (Strategic Employee Engagement) : 14 กุมภาพันธ์ 2568

ความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) เป็นกุญแจสำคัญ  ต่อความสำเร็จของธุรกิจ หากบุคลากรในองค์กรมีความผูกพันต่อองค์กรแล้วสิ่งที่องค์กรจะได้มากกว่างานก็คือ “หัวใจของบุคลากร” เพราะเขาจะทุ่มเทอุทิศเวลาเพื่อองค์กร รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สร้างสรรค์     ผลงานที่ดี มีคุณภาพ มีการบริการที่ดี และสร้างความเจริญเติบโตให้กับธุรกิจให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยกระตุ้น  ให้เขาอยากอยู่อยากทำงาน ไม่คิดจะย้ายไปทำงานที่อื่น ช่วยลดอัตราการลาออกและการขาดงานได้  ด้วยเหตุนี้องค์กร ยุคใหม่ไม่ว่าจะเป็นเอกชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานราชการ ต่างก็หันมาให้ความสนใจในการสร้างและพัฒนาความผูกพันต่อองค์กรให้เกิดขึ้นกับบุคลากร ในองค์กร

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ตรงของวิทยากรและที่ปรึกษาที่ทำจริงมากับมือ ที่จะช่วยให้บุคลากรในองค์กรของท่าน มีใจรักและผูกพันต่อองค์กร อยากอยู่อยากทำงานให้ตนองประสบความสำเร็จ และธุรกิจเจริญเติบโตก้าวหน้า 

 

 วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม 

  1. สามารถอธิบายแนวคิด ขั้นตอน แนวปฏิบัติ และเทคนิคการสร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) ได้
  2. เสริมสร้างความตระหนักถึงการสร้างความผูกพันที่มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ 
  3. ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานของทีมงาน 
  4. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่จะสร้างหรือทำลายความผูกพันต่อองค์กรด้วย  Employee Engagement Dialog ได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
  5. สามารถกำหนดกลยุทธ์เสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรที่ช่วยลดอัตราการลาออกได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับธุรกิจ
  6. เสริมสร้างเทคนิคในการจัดทำแผนงานสร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Action Plan) “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา”  ให้เหมาะสมกับองค์กรได้

หัวข้อเนื้อหาสำคัญของการเรียนรู้ :

ส่วนที่  1  :  การสร้างความผูกพันต่อองค์กรกับความสำเร็จของธุรกิจ (Employee Engagement Introduction)

  • Case Study เล่าเรื่อง Risk Engagement & Risk Business
  • สัญญาณความไม่ผูกพันต่อองค์กรที่ผู้บริหารและ HR ต้องระวัง
  • การสร้างความผูกพันต่อองค์กรกับความสำเร็จของธุรกิจ
  • ความสัมพันธ์ของการสร้างความผูกพันกับเป้าหมายองค์กร (Employee Engagement VS Corporate KPIs/OKRs)

ส่วนที่  2  :  กรอบของระบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Framework)

  • แนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรแบบ “Remember->Understand->Copy->Create->Implement” 
  • กรอบของระบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Framework)

ส่วนที่  3  :  9 ขั้นตอนหลักในการสร้างความผูกพันต่อองค์กรที่ทำได้ด้วยตนเอง (Employee Engagement Process)

  • 9 ขั้นตอนหลักในการสร้างความผูกพันต่อองค์กรที่ทำได้ด้วยตนเอง

ส่วนที่  4  :  จุดเริ่มต้นของการสร้างความผูกพันต่อองค์กร ด้วยการสรรหาและคัดเลือก “คนดี มีความสามารถ” เข้าร่วมงานกับองค์กร (Recruitment & Selection)

  • ความผูกพันต่อองค์กรเริ่มต้นด้วย...การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรจาก "3Cs"
  • ภาพรวมของกระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร

ส่วนที่  5  : ปลดล็อคความคิด Engagement Survey ด้วย Employee Engagement Diagnosis

  • ปลดล็อคความคิด Engagement Survey ด้วย Employee Engagement Diagnosis เครื่องมือวิเคราะห์หาปัจจัยสร้างความผูกพันต่อองค์กรยุคใหม่
  • Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรด้วย Employee Engagement Diagnosis
  • Workshop 2: ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความผูกพันต่อองค์กรด้วย Employee  Engagement  Diagnosis

ส่วนที่  6  :  การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์สร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Strategy) เพื่อดึงดูดใจพนักงานและลดอัตราการลาออก

  • เทคนิคการนำผลจาก Employee Engagement Diagnosis มากำหนดกลยุทธ์สร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Strategy)
  • ตัวอย่างกลยุทธ์สร้างความผูกพันต่อองค์กร

ส่วนที่  7  :  เทคนิคการนำผล Engagement Diagnosis และ Engagement Strategy มาจัดทำ Engagement Action Plan 

  • แนวทางการนำผลจากการวิเคราะห์ Engagement Diagnosis มาจัดทำ Employee Engagement Action Plan แบบ “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา”
  • ขั้นตอนการจัดทำแผนงานสร้างความผูกพันในองค์กรด้วย PDCA (Easy Employee  Engagement  Plan) 
  • Workshop 3  : ฝึกปฏิบัติจัดทำ Engagement Action Plan จากข้อมูล Engagement Diagnosis
  • ตัวอย่างแผนงานสร้างความผูกพันต่อองค์กร 

ส่วนที่  8  :  เทคนิคการใช้ 5 เครื่องมือในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Tools)

  • ความสัมพันธ์ของเครื่องมือทั้ง 5 ในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร
  • เทคนิคการใช้เครื่องมือที่ 1 การสร้างความผูกพันและการทำงานเป็นทีม (Engagement Team Building)
  • เทคนิคการใช้เครื่องมือที่ 2 กิจกรรม Happy Workplace (HP8) แบบ“สุข-สร้าง-ได้”
  • เทคนิคการใช้เครื่องมือที่ 3 ปลูกจิตสำนึกของผู้ให้และแบ่งปันด้วย Corporate Social Responsibility (CSR)
  • เทคนิคการใช้เครื่องมือที่ 4 การบำบัดทุกข์-บำรุงสุข เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีในองค์กร
  • เทคนิคการใช้เครื่องมือที่ 5 ระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM & HRD System) ที่เสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร  
  • Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติในการปรับใช้เครื่องมือสร้างความผูกพันต่อองค์กร

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :

เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการทุกสายงาน ผู้บริหารสายงานทรัพยากรมนุษย์ เจ้าหน้าที่แรงงานสัมพันธ์ และผู้สนใจทั่วไป  

รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ : 

  • การบรรยาย (Lecture)   ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) 
  • การแชร์ Case ประสบการณ์ตรง 
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) และการระดมความคิด (Brain Stroming) และการนำเสนอความคิดเห็น 
  • การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม  

วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช  ธานี (อ.ต้น)  

  • กรรมการผู้จัดการ สถาบัน People Develop Center  
  • วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 35 ปี
  • วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
  • วิทยากรพิเศษด้าน HR คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย
  • ประสบการณ์ด้าน Employee Engagement มากกว่า 16 ปี 

วันและเวลาสัมมนา :  

รุ่นที่  26  วันที่  14  กุมภาพันธ์  2568  ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. 

สถานที่สัมมนา :  

REMBRANDT HOTEL สุขุมวิท 18, 20 กรุงเทพฯ (ใกล้สถานี BTS อโศก) 

ค่าลงทะเบียนอบรม 

พิเศษ 1 เพียง 3,900 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat) ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วันทำการ

             ราคาปกติ 4,200 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat)

พิเศษ 2 ปรึกษาฟรีก่อน และหลังการอบรม

พิเศษ 3 ลงทะเบียน 5 ท่าน ชำระเพียง 4 ท่าน

วิธีการชำระค่าลงทะเบียน : 

โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.  

 • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์                   เลขที่ 405-776955-2  

 บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น  

 ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง  

คำแนะนำในการชำระเงิน 

  • โปรดส่งสำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร ส่งมาที่ 02-077-6531 หรือ Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
  • เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน 

ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด เลขที่ 22/20 หมู่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502 

กรณียกเลิกการอบรมกรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนอบรม หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าอบรมเพื่อรับเอกสาร   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 305,857