Competency Management and Competency Development รุ่นที่ 24 : 30 มกราคม 2568
โลกธุรกิจการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เครื่องมือการบริหารจัดการก็มีการเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้จากองค์กรชั้นนำทั้ง องค์กรธุรกิจ หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ต่างก็นำ Competency มาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาองค์กร (Organization Development) ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในบริหารจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับทิศทางองค์กร
หลายองค์กรยังประสบกับอุปสรรคในการนำ Competency ไปใช้งาน อาทิเช่น
- บุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีพื้นความรู้หรือขาดความเข้าใจเกี่ยวกับ Competency
- ไม่รู้จะวิเคราะห์หาและกำหนด Competency อย่างไรดี
- บุคลากรที่มีความรู้เรื่อง Competency ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างไรดี ?
- บางหน่วยงานอาจมีการดำเนินการแล้ว แต่ Competency ที่มียังเน้นแต่พฤติกรรมที่วัดและจับต้องได้ยาก ไม่สอดคล้องกับงานหน้างาน หรือสิ่งที่องค์กรคาดหวัง
- มี Competency ฉบับ Dictionary แล้ว แต่มีไว้โชว์ ไม่ได้มีไว้ใช้งาน ไม่รู้ว่าจะนำไปใช้งานได้อย่างไร ?
- Competency ที่ได้ก็ไม่รู้จะเชื่อมโยงไปสู่การประเมินเพื่อพัฒนา หรือการประเมินผลประจำปี หรือเชื่อมโยงกับ Career Path และ Succession Plan อย่างไรดี ?
-
หลักสูตรฝึกอบรมนี้สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ของวิทยากรและที่ปรึกษาในการนำ Competency มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารและพัฒนาบุคลากร ที่จะช่วยให้องค์กรของท่านสามารถกำหนด และนำ Competency ใช้งานได้อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาธุรกิจองค์กรของท่าน ในรูปแบบการเรียนรู้ ที่กระชับ เข้าใจง่าย และปรับใช้งานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมตัวอย่าง และแบบฟอร์ม โดยที่ผู้เข้ารับการอบรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้มาก่อน
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
- สามารถอธิบายแนวคิด หลักการ และภาพรวมของ Competency ในการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กรทั้งกระบวนการ
- สร้างความตระหนักถึงประโยชน์ของการนำ Competency ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร
- สามารถกำหนดและทบทวน Core Competency ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถกำหนด Managerial Competency ที่คาดหวังให้สอดคล้องเหมาะสมองค์กรและระดับตำแหน่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถกำหนด Functional Competency ให้สอดคล้องกับ Procedure และ Work Instruction ได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างเทคนิคการนำ Competency ไปใช้ในการสัมภาษณ์และคัดเลือกพนักงานใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างเทคนิคการจัดทำแผนพัฒนา Competency ด้วย Training Road Map ได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างเทคนิคการจัดทำ Competency ด้วยแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างเทคนิคการนำ Competency ไปประเมินผลขีดความสามารถประจำปีได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างเทคนิคการนำ Competency ไปการจัดทำ Career Path Criteria ได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เสริมสร้างเทคนิคการนำ Competency ไปการจัดทำ Succession Plan ได้อย่างเป็นรูปธรรม
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : ภาพรวมของ Competency Management และ Competency Development
- รหัสลับของ ISO 9001 และ IATF 16949 เกี่ยวกับ Competence
- ความหมายและองค์ประกอบของ Competency
- ประเภท และเครื่องมือในการกำหนด Competency
- ประโยชน์ของการนำระบบ Competency ไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กร
ส่วนที่ 2 : การกำหนด Level Competency ที่คาดหวังแบบ 5 ระดับพฤติกรรม กับแบบ 4 ระดับความสามารถ ยุคใหม่ ในการประเมินหา Competency Gap
- การกำหนด Level Competency ที่คาดหวังแบบ 5 ระดับพฤติกรรมตาม Competency Dictionary
- การกำหนด Level Competency ที่คาดหวังแบบ 4 ระดับความสามารถ (รู้-พอทำได้-เก่ง-เก่งและถ่ายทอดได้)
- Workshop 1 : เปรียบเทียบจุดเด่นและจุดด้อยการกำหนด Competency แบบ 5 ระดับพฤติกรรม กับ แบบ 4 ระดับความสามารถยุคใหม่
ส่วนที่ 3 : เทคนิคการกำหนดและทบทวนความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) จากวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) องค์กร
- ขั้นตอนการวิเคราะห์และกำหนด Core Competency
- เทคนิคและวิธีการกำหนดและทบทวน Core Competency ให้สอดคล้องกับทิศทางองค์กร จากวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) องค์กร
- Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติกำหนด/ทบทวน Core Competency ให้สอดคล้องกับทิศทางองค์กร จากวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission)
ส่วนที่ 4 : เทคนิคการกำหนดความสามารถทางการบริหาร (Managerial Competency)
- ขั้นตอนการวิเคราะห์และกำหนด Managerial Competency
- เทคนิคและวิธีการกำหนด/ทบทวน Managerial Competency ให้เหมาะสมกับองค์กรและระดับตำแหน่งงาน
- Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติกำหนด/ทบทวน Managerial Competency ของผู้บริหาร ผู้จัดการ และหัวหน้าแผนก
ส่วนที่ 5 : เทคนิคการกำหนดความสามารถเฉพาะด้าน (Functional Competency) จาก Procedure และ Work Instruction
- ขั้นตอนการวิเคราะห์และกำหนด Functional Competency
- เทคนิคและวิธีการกำหนด/ทบทวน Functional Competency ให้เหมาะสมกับงาน ด้วย Procedure และ Work Instruction
- Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติกำหนด/ทบทวน Functional Competency จาก Procedure และ Work Instruction
ส่วนที่ 6 : เทคนิคการสัมภาษณ์และคัดเลือกพนักงานสมัยใหม่ด้วย Competency (Competency-based Interview and Selection : CIS)
- การสัมภาษณ์และคัดเลือกพนักงานสมัยใหม่ด้วย Competency
- ตัวอย่างแบบประเมินผลการสัมภาษณ์และคัดเลือกด้วย Competency
ส่วนที่ 7 : เทคนิคการนำ Competency ไปจัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากร (Competency-based Training Road Map : CTRM)
- การนำ Competency ไปจัดทำเส้นทางการพัฒนาบุคลากร (Training Road Map)
- ตัวอย่าง Training Road Map
ส่วนที่ 8 : เทคนิคการนำ Competency ไปจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Competency-based Individual Development Plan : CIDP)
- การนำ Competency ไปจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)
- ตัวอย่างแผนพัฒนารายบุคคล
ส่วนที่ 9 : เทคนิคการนำ Competency ไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี (Competency-based Performance Appraisal : CPA)
- การนำ Competency ไปประเมินขีดความสามารถประจำปี
- ตัวอย่างแบบประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีด้วย Competency
ส่วนที่ 10: เทคนิคการนำ Competency ไปใช้ในการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Competency-based Career Path : CCP)
- การนำ Competency ไปจัดทำ Career Path Criteria
- ตัวอย่างเกณฑ์เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path Criteria) บนพื้นฐาน Competency
ส่วนที่ 11 : เทคนิคการนำ Competency ไปใช้ในการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Competency-based Succession Plan : CSP)
- การนำ Competency ไปจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งงาน (Succession Plan)
- ตัวอย่างกระบวนการบริหารแผนสืบทอดตำแหน่งบนพื้นฐาน Competency
รูปแบบ/วิธีการเรียนรู้ :
- การบรรยาย (Lecture) ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
- การเล่า Case ประสบการณ์
- การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop)เชิงปฏิบัติการ: การกำหนด Core Competency, Managerial Competency และ Functional Competency เพื่อนำไปปรับใช้งานในองค์กร
- การแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด (Brain Strom) กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการนำเสนอความคิดเห็น
- การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าแผนก ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายประเมินผลการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ DCC และผู้สนใจทั่วไป
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
- กรรมการผู้จัดการสถาบันฝึกอบรม People Develop Center
- วิทยากร ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้าน HRD & HROD เชิงกลยุทธ์องค์กรชั้นนำ จากประสบการณ์ 35 ปี
- วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
- วิทยากรพิเศษด้าน HR คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
วันและเวลาสัมมนา :
รุ่นที่ 24 วันที่ 30 มกราคม 2568 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.
สถานที่สัมมนา :
REMBRANDT HOTEL สุขุมวิท 18, 20 กรุงเทพฯ (ใกล้สถานี BTS อโศก)
ค่าลงทะเบียนอบรม
พิเศษ 1 เพียง 3,900 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat) ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วันทำการ
ราคาปกติ 4,200 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat)
พิเศษ 2 ปรึกษาฟรีก่อน และหลังการอบรม
พิเศษ 3 ลงทะเบียน 5 ท่าน ชำระเพียง 4 ท่าน
วิธีการชำระเงิน :
โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก(หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 4057769552
บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น
ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง
คำแนะนำในการชำระเงิน
- โปรดส่งสำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
- เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน
ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด เลขที่ 22/20 หมู่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0125558000502
กรณียกเลิกการอบรมกรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนอบรม หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าอบรมเพื่อรับเอกสาร
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838
E-mail : peopledevelop@outlook.com