เทคนิคการบริหารจัดการร่วมสมัย สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Modern Management Techniques for Modern Manager) จำนวน 2 วัน โดย ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)

องค์กรชั้นนำยุคใหม่มีความเชื่อมั่นว่า คน คือ ทรัพยากรทางการบริหารที่สำคัญที่สุดขององค์กร เพราะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับองค์กรได้ การที่องค์กรจะมีคนที่มีคุณภาพที่เป็น “ทุนมนุษย์ (Human Capital)” ที่สามารถจะขับเคลื่อนผลักดันองค์กรไปสู่เป้าหมายทางธุรกิจที่กำหนดไว้ (Corporate KPIs)   เป็นเครื่องมือทางการบริหาร จะเห็นได้จากในหลายองค์กรที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฯลฯ ประเทศเล็กที่มีพื้นที่และทรัพยากรไม่มาก แต่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจของโลก เพราะมุ่งเน้นการบริหารจัดการ ด้วยเหตุนี้ องค์กรชั้นนำยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการร่วมสมัย  ในการเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กร (Competitive Advantage) "ผู้บริหารยุคใหม่ต้องมีเทคนิคการบริหารจัดการยุคใหม่ หรือเทคนิคการจัดการร่วมสมัย (Modern Management) อาทิเช่น การบริหารความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change) การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ด้วยการกำหนดเป้าหมาย (Achievement Management by Goal Setting) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) การจัดการเชิงระบบ (System Management) การจัดการองค์กร (Organizing) การพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD)การพัฒนาขีดความสามารถของทีมงาน (Competency Development) และการจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management : KM) เป็นต้น"

หลักสูตรฝึกอบรมได้ออกแบบขึ้นจากประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรและที่ปรึกษา ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารในองค์กรธุรกิจชั้นนำ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ที่จะช่วยเสริมสร้างเทคนิคการบริหารจัดการร่วมสมัย สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ ไปสู่เป้าหมายที่องค์คาดหวังไว้

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : 

  1. เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารจัดการร่วมสมัย สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Modern Management Techniques for Modern Manager)
  2. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้บริหารยุคใหม่ให้มี Competency ตามที่องค์กรคาดหวัง
  3. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการบริหารความผูกพันต่อองค์กร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  4. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  5. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานด้วยการกำหนดเป้าหมาย สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  6. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  7. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการจัดการเชิงระบบ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  8. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการจัดการองค์กร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  9. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการพัฒนาองค์กร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  10. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการพัฒนาขีดความสามารถของทีมงาน สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  11. เพื่อเป็นเสริมสร้างการพัฒนาเทคนิคการจัดการความรู้ในองค์กร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  12. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานได้จริงทันทีอย่างมีประสิทธิภาพหลังการฝึกอบรมเสร็จสิ้น

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ : 

วันแรกของการเรียนรู้

ส่วนที่  1  :  องค์การยุคใหม่ต้องการผู้บริหารยุคใหม่แบบไหนหนอ ? (Modern Manager)

  • ความสามารถในการบริหารจัดการ (Managerial Competency)
  • ความสามารถในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์
  • Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์พฤติกรรมการทำงานของลูกน้องในการบริหารและสร้างแรงจูงใจในการงานสัมฤทธิ์ผล
  • ความสามารถในการบริหารและพัฒนาทีมงานแบบ “เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา”
  • ความสามารถในการส่งเสริมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
  • ความสามารถในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
  • ความสามารถในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร และบรรยากาศที่ดีในการทำงาน (Employee Engagement)
  • คุณลักษณะเป็น “คนดี” ที่องค์กรต้องการตามหลักธรรมาภิบาล (Good Corporate Governance : GCG) และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct : CoC)
  • ความสามารถด้านการบริหาร EQ
  • ความกล้า 8 ประการที่ผู้บริหารต้องมี

ส่วนที่  2  :  เทคนิคการบริหารความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Techniques)

  • Unlock Engagement Survey ด้วยการวินิจฉัยองค์กรแบบ Employee Engagement Dialog เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยในการสร้างความผูกพันให้สอดคล้องกับองค์กรของตนเอง
  • Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติวินิจฉัยปัจจัยสร้างและทำลายความผูกพันต่อองค์กรด้วย Employee Engagement Dialog
  • 5 เทคนิคในการบริหารความผูกพันต่อองค์กร (Employee Engagement Techniques)
  • เครื่องมือที่ 5 ในการสร้างความผูกพันต่อองค์กร ด้วย HRM & HRD System :   -> การสร้างความชัดเจนและความสุขในการทำงานด้วย Job Description Version 4-> การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้วย Training Road Map-> การสร้างระบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPI และ Competency-> การสร้างเส้นทางความก้าวหน้าของบุคลากรด้วย Career Path

ส่วนที่  3  :  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change)

  • ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change /Transformational Leadership)
  • 5 บทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • 3 หน้าที่ของผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง (Duties of Chief Change Officer : CCO)
  • 4 คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
  • ความท้ายทายของปฏิกิริยาในองค์การต่อการเปลี่ยนแปลง
  • รูปแบบและสาเหตุของการต่อต้านของบุคลากรในองค์กร
  • แนวทางการสื่อสารความเปลี่ยนแปลงในองค์กร (Communication for Change)
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติจัดทำแผนงานสื่อสารการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร

ส่วนที่  4  :  เทคนิคการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้วยการกำหนดเป้าหมายของงาน (Achievement Management by Goal Setting Techniques)

  • ก้าวแรกของการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Achievement Motivation) ด้วยการกำหนดเป้าหมายของงานด้วย KPI
  • Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติกำหนดเป้าหมายของงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจขององค์กร
  • แนวทางการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงผลสัมฤทธิ์ของงาน (Performance Agreement) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรหรือเป้าหมายของผู้บังคับบัญชา
  • เทคนิคการควบคุม ติดตามงาน (Controlling and Follow up) ด้วย KPIs จาก Performance Agreement
  • 8 เทคนิคในการจูงใจการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน สำหรับผู้นำในองค์กรยุคใหม่ (Motivation for Modern Leader)

ส่วนที่  5  :  เทคนิคการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)

  • กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) สำหรับผู้บริหารยุคใหม่
  • เครื่องมือการจัดการความเปลี่ยนแปลง ด้วย SWOT Analysis, TOWS Matrix, รู้เขาด้วย C–PEST และรู้เราด้วย 7S ในการกำหนดกลยุทธ์องค์กร
  • เทคนิคการจัดทำแผนปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการทำงาน (Effective Action Plan)
  • หัวใจสำคัญของการจัดทำแผนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ขั้นตอนการจัดทำแผนงานแบบ PDCA
  • Workshop 5 : ฝึกปฏิบัติจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan) ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายของงาน
  • 4 แผนปฏิบัติงานที่ผู้จัดการยุคใหม่ต้องจัดทำและบริหาร (Management Action Plan)

วันที่สองของการเรียนรู้

ทบทวนการเรียนรู้วันแรก

ส่วนที่  6  :  เทคนิคการจัดการเชิงระบบ (System Management Techniques)

  • หลักการแนวคิดการจัดการเชิงระบบ
  • การปรับปรุงการจัดการเชิงระบบ ด้วย Red Tag for improvement
  • Workshop 6 : ฝึกปฏิบัติเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเชิงระบบด้วย Red Tag ในการพัฒนากระบวนการทำงานของ ISO9001
  • แนวทางการสื่อสาร (Communication) ในการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างฝ่ายงานกับเป้าหมายขององค์การ ด้วยการจัดทำ MOU แบบข้ามสายงาน (Cross Functional Alignment)

ส่วนที่  7  :  เทคนิคการจัดการองค์กร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Organizing for Modern Executive)

  • การจัดการองค์กรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและไวต่อการตอบสนองการเปลี่ยนแปลง (Organization Agility)
  • การกำหนดและทบทวนโครงสร้างองค์กรและความชัดเจนของงานระหว่างสายงานด้วย Job Family / Function Matrix
  • Workshop 7 : การกำหนดโครงสร้างองค์กร ด้วย Function Matrix
  • การจัดทำโครงสร้างองค์กรและผังตำแหน่งงาน (Organization Chart)
  • การจัดทำ Workforce Planning ให้สอดคล้องกับ Organization Chart
  • การสร้างความชัดเจนในการทำงานด้วย Job Description ยุคใหม่ Version 4 ที่มี KPI และ Competency ให้สอดคล้องกับ Organization Chart และ Function Matrix
  • แนวทางการบริหารคนให้เหมาะสมกับงานและสมรรถนะ (Put the right man on the right job based on competency) ด้วย 9-Box Metrix

ส่วนที่  8  :  เทคนิคการพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD)

  • แนวทางการจัดองค์การแบบพลวัตร (dynamic) ไม่หยุดนิ่ง ด้วยการพัฒนาองค์กร
  • การวินิจฉัยองค์กรแบบ Organization Development

ส่วนที่  9  :  การพัฒนาขีดความสามารถทีมงาน (Competency Development)

  • ประโยชน์ของการนำ Competency ไปใช้ในการจัดการยุคใหม่
  • เครื่องมือในการวิเคราะห์และกำหนด Competency
  • แนวทางการวิเคราะห์และกำหนด Competency สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายองค์กร
  • Workshop 9 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์และกำหนด Competency ในการพัฒนาขีดความสามารถทีมงาน (Competency Development)
  • แนวทางการพัฒนา Competency ของทีมงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ด้วย Training Road Map
  • แนวทางประเมิน Competency ยุคใหม่ แบบ 4 ระดับความสามารถ
  • แนวทางการจัดทำแผนพัฒนา Competency ของตนเองและทีมงาน ด้วย Individual  Development Plan
  • แนวทางในการจัดทำ Skill Matrix Plan ยุคใหม่ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ ISO9001

ส่วนที่  10  :  เทคนิคการจัดการความรู้องค์กร (Knowledge Management : KM)

  • การจัดการความรู้ (Knowledge Management) คือ อะไร ?
  • วัตถุประสงค์ของการจัดการความรู้
  • แนวคิดในการจัดการความรู้
  • จัดการความรู้แล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
  • แนวทางการเชื่อมโยง Competency จาก Procedure และ Work Instruction สู่ KM
  • แนวทางการวิเคราะห์หาผู้เชี่ยวชาญในองค์กร (GURU) ในการจัดทำ KM ขององค์กร
  • ตัวอย่าง : การเชื่อมโยง Functional Competency จาก Procedure และ Work Instruction ไปสู่ KM
  • Workshop 1: ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์และกำหนด KM จาก Functional Competency ให้สอดคล้องกับ Procedure และ Work Instruction

รูปแบบและวิธีการเรียนรู้  :

  • การบรรยาย
  • ประกอบการทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ ประชุมระดมความคิดเห็น
  • การนำเสนอผลงาน
  • การซักถาม 

ระยะเวลาการเรียนรู้ :

จำนวน 2 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ( 12 ชั่วโมง)

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :

ผู้บริหารทุกระดับ และผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นสู่ผู้บริหาร 

สนใจหลักสูตรติดต่อ : คุณฐิตาภา (ไก่) 

Hotline : 091-738-7838,  095-853-5513

E-mail : peopledevelop@outlook.com 

Visitors: 285,602