การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance) โดย อาจารย์ โกศล ดีศีลธรรม

การวางแผนบำรุงรักษามีบทบาทความสำคัญในการป้องกันและลดปัญหาเครื่องจักรขัดข้อง หากปราศจากแผนการบำรุงรักษาแล้วความเสียหายที่เกิดจากปัญหาเครื่องจักรขัดข้องและค่าใช้จ่ายการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนจะสูงมาก โดยเฉพาะธุรกิจภาคการผลิตจะเกิดความสูญเสียหลายประการ อาทิ ค่าล่วงเวลา เวลา ของเสีย และความสูญเสียโอกาสการแข่งขันที่มีสาเหตุหลักจากการขาดแผนงานบำรุงรักษาที่เหมาะสม   ดังนั้นผู้ประกอบการควรพิจารณาปัจจัยและประเมินผลกระทบเพื่อลดความสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลควรคำนึงถึงความเหมาะสมด้วยการจัดทำแผนเพื่อลดความสูญเสียและยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรสนับสนุนงานซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิผล 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ :

  1. แนวทางคัดเลือกกลยุทธ์บำรุงรักษา
  2. การจัดประเภทเครื่องจักรตามความสำคัญ
  3. การจัดสรรทรัพยากรและกำหนดแผนบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม
  4. การสร้างระบบสารสนเทศงานบำรุงรักษา 

หัวข้อสัมมนา :

  1. บทบาทการบำรุงรักษาเชิงวางแผน
  2. โครงสร้างกิจกรรมบำรุงรักษาเชิงวางแผน
  3. เป้าหมายหลักการบำรุงรักษาเชิงวางแผน
  4. แนวทางคัดเลือกกลยุทธ์บำรุงรักษา
  5. การวางแผนทรัพยากรสำหรับการบำรุงรักษา
  6. การจัดผังองค์กรฝ่ายบำรุงรักษา
  7. การสร้างระบบบำรุงรักษาเชิงวางแผน
  • การบันทึกสภาพปัญหาเครื่องจักรและการประเมินผลเบื้องต้น
  • การฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร
  • ระบบสารสนเทศงานบำรุงรักษา
  • สร้างระบบบำรุงรักษาตามรอบเวลา
  • การวินิจฉัยและคาดการณ์ความเสื่อมสภาพเครื่องจักร
  • การประเมินผลระบบบำรุงรักษาเชิงวางแผน
  1. ขั้นตอนและแผนดำเนินการ(Implementing Planned Maintenance)
  2. การจัดทำงบประมาณงานบำรุงรักษา
  3. ปัจจัยลดค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษา

ระยะเวลาในการเรียนรู้ :  

จำนวน 1-2 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.  

วิธีการในการเรียนรู้ :  

  • การบรรยาย (Lecture) 
  • การจัดทำ Workshop ฝึกปฏิบัติ และการนำเสนองาน 
  • การตอบข้อซักถาม  

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :  

ผู้จัดการโรงงาน วิศวกร  ช่างเทคนิค เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต และผู้สนใจเทคนิคงานบำรุงรักษา 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ
Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 286,710