การวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) อาจารย์ ไพรัช วนัสบดีไพศาล

“ปรับแนวคิดการวิเคราะห์แก้ปัญหา แล้วคุณจะพบว่าทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก”

หลักการ/แนวความคิด :

ปัญหามีเกิดขึ้นได้กับทุกองค์กร และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ปัญหาแต่ละรูปแบบที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลเสียต่อองค์กรและบุคลากรได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หากปล่อยปัญหานั้นให้ยืดต่อไปเรื่อยๆ การแยกแยะวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งปัญาหาจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้พนักงานสามารถมองเห็นถึงความชัดเจนว่าจะต้องเลือกวิธีการตัดสินใจเช่นไร จึงจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อทีมงานและต่อองค์กร

การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก หากพนักงานไม่ทราบถึงเหตุแห่งปัญหาที่ชัดเจนได้ ก็จะไม่สามารถสร้างช่องทางเลือกการตัดสินใจต่อปัญหานั้นๆที่ดีที่สุดได้เช่นกัน

ดังนั้นพนักงานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีกระบวนการที่ถูกต้อง และมีทักษะและกลยุทธ์ที่จำเป็นอื่นประกอบ เพื่อให้ผลลัพธ์ของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจนั้นๆออกมาดีที่สุด มีประโยชน์ที่สุด มีโอกาสมากที่สุด ให้กับทีมงานและองค์กร 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อสร้างแนวความคิดในการวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีกลยุทธ์และสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และตัดสินใจ ในการปฎิบัติงานจริง
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีเทคนิคในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และตัดสินใจ ให้เกิดประสิทธิผล
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาร่วมกันภายในทีม
  5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีศักยภาพทั้งทีมงานและตัวบุคคลในการวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจรวมถึงการวางแผนปฎิบัติอย่างมีขั้นตอน 

เนื้อหาหลักสูตร :

  1. เรียนรู้ถึงปัญหาที่ต้องมาพร้อมกับการตัดสินใจเสมอ
  2. เรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายของการวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจ
  3. เข้าใจถึงความเป็นหนึ่งเดียว ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
  4. วิเคราะห์สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อปัญหา
  5. วิเคราะห์ภาพรวมของปัญหาและการแบ่งประเภทของปัญหา
  6. กระบวนการวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างเป็นระบบสำหรับทีมงาน
  7. เทคนิคในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
  8. เทคนิคในการหาวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
  9. องค์ประกอบและปัจจัยต่อการตัดสินใจ
  10. วิเคราะห์การตัดสินใจอย่างมีกลยุทธ์
  11. หลุมพลางของการตัดสินใจ
  12. การสร้างทางเลือกในการตัดสินใจปัจจัย ผลกระทบ ผลลัพธ์ที่ได้
  13. การวางแผนปฎิบัติหลัก แผนปฎิบัติสำรอง
  14. ขั้นตอนการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงาน
  15. กรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงของวิทยากร
  16. Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติ
    • ให้โจทย์การวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจ
    • วิเคราะห์อย่างละเอียดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและวิธีการตัดสินใจ
    • นำเสนอถึงการวิเคราะห์แก้ปัญหาและการตัดสินใจ
    • ผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร ร่วมกันวิเคราะห์ความสำเร็จของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ
    • วิทยากรให้ผลลัพธ์ที่ได้ของเวิร์กช็อบนี้
  17. สรุปเนื้อหาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์จากผู้เข้ารับการอบรม
  18. ข้อคิดฝากให้กับผู้เข้ารับการอบรม เพื่อนำกลับไปฝึกปฎิบัติให้เกิดการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น

ระยะเวลาการอบรม :

จำนวน 1 วัน 

วิธีการ : (ทฤษฎี 30% ปฏิบัติ 70%)

  1. การบรรยาย – สาธิต – ประสบการณ์
  2. เน้นให้มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมออกมา
  3. ระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ – เกมส์สอดแทรก – การแสดงบทบาทสมมติ 

สไตล์การสอนของวิทยากร :

  • Psychology for motivated thinking (การใช้จิตวิทยาเพื่อกระตุ้นความคิด)
  • Training interactive for leverage the real performance (การฝึกอบรมเชิงโต้ตอบสำหรับการใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติจริง)
  • Psychology (จิตวิทยา) และ Interactive (เชิงโต้ตอบ)

คือการนำจิตวิทยามาใช้ร่วมในการฝึกอบรม และกระตุ้นความคิดของผู้เรียนอยู่ตลอดในเชิงโต้ตอบแบบอินเตอร์แอคทีฟ 

ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ :

  • ผู้บริหาร
  • ผู้จัดการ
  • หัวหน้างาน
  • พนักงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ 

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com  

Visitors: 286,784