เทคนิคการกำหนดกลยุทธ์การบริหารผลการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับนโยบาย และเป้าหมายองค์กร (Strategic Performance Management) โดย อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)

งค์กรของท่านเคยประสบกับปัญหาเหล่านี้บ้างไหม?

  • ประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว แต่ทำไมไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท ?
  • ประเมินผลงานอย่างไรดีให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของบริษัท ?
  • จะประเมินผลแต่ละฝ่ายอย่างไรให้สอดคล้องกับ BSC ยุคใหม่ ทั้ง 5 ด้าน ?
  • KPIs ทั้งบริษัทมีเป็น 100 เรื่อง จะเลือกหัวข้อไหนมาประเมินผลให้สอดคล้องกับธุรกิจ ?
  • แต่ละฝ่ายมีเป้าหมายและตัวชี้วัดไม่เหมือนกัน จะประเมินผลอย่างไรให้มีความเป็นธรรมระหว่างฝ่ายงาน ?
  • ไม่รู้จะเชื่อมโยง KPIs และ Competency ที่มีไปสู่การประเมินผลที่เป็นรูปธรรมอย่างไรดี ?
  • อยากประเมิน Competency แบบ 360 องศา จะพัฒนาแบบประเมินอย่างไรหนอ ?
  • ตำแหน่งงานมีเป็นร้อย แล้วจะออกแบบประเมินผลงานเฉพาะตำแหน่งเป็นรายบุคคลได้ไหม ?
  • ประเมินผลแล้วจะขึ้นค่าจ้างประจำปีอย่างไรดี ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ?
  • กลุ่ม Talent จะปรับค่าจ้างอย่างไรดี ไม่ให้สมองไหล ?
  • จะนำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับแนวทางการพัฒนารายบุคคลอย่างไรดี ?
  • ปัญหาอื่นๆ สารพัด อาทิเช่น หัวข้อ/รูปแบบในการประเมินผลไม่ชัดเจน, การประเมินผลใช้ความรู้สึกเป็นตัววัด, ไม่มีการวัดผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม หัวหน้างานกลัวการแจ้งผลต่อพนักงาน พนักงานไม่ยอมรับผลการประเมินผล ฯลฯ

หากองค์กรของท่านกำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น จนก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ของปัญหาการจัดการตามมา อาทิเช่น การประเมินไม่เป็นธรรม ขวัญกำลังใจพนักงานตกต่ำ พนักงานกลุ่ม Talent ทยอยลาออก ฯลฯ

หลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้ท่านและองค์กรของท่านสามารถจัดทำระบบบริหารผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายขององค์กรได้ ที่ “กระชับ เข้าใจง่าย และใช้ได้จริง” โดยที่ผู้เรียนรู้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ KPI รวมทั้ง Competency มาก่อน

 ประโยชน์ที่องค์กรของท่านจะได้รับ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการสัมมนาได้รับ

  1. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติของกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่
  2. สามารถเชื่อมโยง KPI และ Competency ไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีสมัยใหม่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางขององค์กรได้
  4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับ 4 เครื่องมือทางการจัดการ คือ KPIs, Competency, Work Behavior และ Productivity ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและพัฒนาแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่เหมาะสมสอดคล้องงานกับงานของแต่ละฝ่ายและแต่ละตำแหน่งงานได้
  5. สามารถวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานลูกน้องได้อย่างมีประสิทธิภาพตามตำแหน่งงาน
  6. เสริมสร้างทักษะในการแจ้งผลงานป้อนกลับ (Feedback) และการติดตามผลการปฏิบัติงานลูกน้องของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. สามารถนำความรู้ที่ได้รับเชื่อมโยงกับการปรับค่าจ้างประจำปี การกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล และกำหนดแนวทางการพัฒนาสายอาชีพในองค์กรได้

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :

วันแรกของการเรียนรู้

ส่วนที่  1  :  บทเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ เกี่ยวกับระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ (Modern Performance Management Introduction)

  • การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System : PMS) คืออะไร ?
  • PMS มีความสำคัญอย่างไรต่อการบริหารจัดการองค์กร
  • 6 ขั้นตอนของการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management Process)
  • 4 เครื่องมือสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy)

ส่วนที่  2  :  เทคนิคการกำหนดเป้าหมาย (Goals Setting) ด้วย Key Performance Indicators (KPIs) 

  • Goals Setting ด้วย KPI ทั้ง 4 ระดับ กับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • การกำหนด Corporate KPIs ด้วย Balance Scorecard (BSC)  เพื่อวัดผลการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กร
  • ตัวอย่าง 1 : การกำหนด และกระจายเป้าหมายองค์กรสู่ระดับฝ่ายงาน
  • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของแต่ละฝ่ายงาน (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร(Corporate KPIs)
  • ตัวอย่าง 2 : แบบฟอร์มการแปลงนโยบาย และเป้าหมาย สู่กลยุทธ์ระดับฝ่ายงาน
  • Workshop : การกำหนด Functional KPIs ของฝ่ายงานให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
  • การวัด/ประเมินผล Individual KPIs จาก  Modern Job Description
  • ตัวอย่าง 3 : Modern Job Description ที่มี KPI

ส่วนที่  3  : แนวทางการพัฒนาความสามารถ (People Development) เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

  • 12 แหล่งข้อมูลในการค้นหาความจำเป็นในการฝึกอบรมขององค์กร
  • แผนงานฝึกอบรม 5 ระดับ ที่ทุกองค์กรควรจะมี
  • Modern Job Description แหล่งที่มาสำคัญของ Competency ในองค์กร
  • 4 คำถามที่ผู้บริหารระดับสูงหลายองค์กรมักถามเกี่ยวกับการพัฒนา ?
  • ตัวอย่าง 4 : การจัดทำ Modern Training Road Map ของหน่วยงาน จาก Modern Job Description
  • ตัวอย่าง 5 : การบันทึกประวัติการฝึกอบรมแบบ Radar Chart

ส่วนที่  4  :  เทคนิคการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS Design and Implement) ที่มี KPIs และ Competency

  • 4 เครื่องมือในการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
  • ตัวอย่าง 6 : แบบการประเมินและติดตามผลเชิงกลยุทธ์ด้วย KPI
  • Workshop : การออกแบบและพัฒนาแบบประเมินผลการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับองค์กร
  • แบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย Competency แบบ 4 ระดับความสามารถ
  • แนวทางการประเมิน Competency 360 องศา ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการทำงานไทย 

วันที่สองของการเรียนรู้

ทบทวนการเรียนรู้วันแรก

ส่วนที่  5  :  การวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal, Coaching and Feedback)

  • วัตถุประสงค์ของการวัด/การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • ปัญหาและข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • Workshop : แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • แนวทางการกำหนดปัจจัยและน้ำหนักในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 
  • ตัวอย่าง 7 : การกำหนดปัจจัย/น้ำหนักในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
  • 5 ขั้นตอนในการแจ้งผลการปฏิบัติงานที่สร้างสรรค์และเป็นบวก
  • Workshop : วิธีการประเมินผลแบบไหนหนอที่ไม่เป็นที่ยอมรับ/ไม่ได้มาตรฐาน ?
  • แนวทางในการประเมินผลงานอย่าง “เป็นธรรมและได้รับการยอมรับ”
  • เทคนิคการแจ้งผลการปฏิบัติงาน (Positive Feedback Techniques) ให้ได้ทั้งใจและได้ทั้งงานจากลูกน้อง

ส่วนที่  6  :  การติดตามและพัฒนาผลการปฏิบัติงาน (Performance Develop and Review)

  • แนวทางการติดตามผลการปฏิบัติงานของลูกน้องที่ ผลงานสูงกว่าเป้าหมาย ผลงานบรรลุเป้าหมาย และผลงานต่ำกว่าเป้าหมาย
  • Workshop : ติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างไรให้ได้ทั้งใจและได้ทั้งงาน ?

ส่วนที่  7  :  การเชื่อมโยงผลการประเมินกับ Human Resources System

  • การพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร ด้วย PMS
  • ตัวอย่าง 8 : การให้รางวัลตอบแทน (Reward System) ที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน
  • การเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)
  • การนำผลการประเมินไปจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP based on Performance Appraisal)
  • การเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP)
  • ตัวอย่าง 9 : แบบฟอร์มแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)

ส่วนที่  8  :  ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์

  • Key success factor of System
  • Key success factor of Man 

วิธีและรูปแบบการเรียนรู้ :

  • การบรรยาย (Lecture)  ประกอบการการจัดทำWorkshop เชิงปฏิบัติการ
  • การประชุมระดมความคิด (Brain Strom) การนำเสนอผลงาน และการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม 

ระยะเวลาการเรียนรู้ :

จำนวน 1-2 วัน

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :

เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ นักบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

สนใจหลักสูตรติดต่อ คุณฐิตาภา (ไก่) 

Hotline : 091-738-7838,  095-8535513,  081-9881304 

Visitors: 286,475