เทคนิคการดูแลสุขภาพใจทีมงาน สำหรับหัวหน้างานยุคใหม่ (Mental Health Techniques for Supervisors) : 8 กุมภาพันธ์ 2568

สุขภาพจิตที่ดีเป็นส่วนสำคัญของชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงาน "ที่ทำงานเป็นเสมือนบ้านหลังที่สอง" ที่คนส่วนใหญ่ใช้ทั้งชีวิตมากกว่าที่บ้าน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน เช่น ลักษณะงาน บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในที่ทำงาน ความก้าวหน้าในอาชีพ ฯลฯ ล้วน “มีอิทธิพลต่อสุขภาพใจ” ที่ก่อการเกิดความเครียด หรือภาวะหมดไฟในการทำงานได้ และหากความเครียด หรือภาวะหมดไฟ นั้นไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีเป็นระยะเวลายาวนาน ย่อมเกิดเป็น "ภาวะเครียดสะสม หรือ Chronic Stress" บางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากร รวมถึงประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยเหตุนี้จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่หัวหน้างานซึ่งใกล้ชิดกับพนักงานมากที่สุด จะต้องเรียนรู้เทคนิคและวิธีการการบริหาร ด้วยการดูแลสุขภาพใจทีมงาน การให้คำแนะนำปรึกษา ที่แสดงถึงความใส่ใจ ห่วงใย เห็นอกเห็นใจทีมงาน ซึ่งจะทำให้ทีมงานรู้สึกคลายความเครียด บรรยากาศการทำงานดีขึ้น ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี

 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

  1. เสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้างานยุคใหม่ ในการดูแลสุขภาพใจของทีมงานลูกน้อง การบริหารคน (People Management) และการบริหารอารมณ์ของคน (Emotional Management) รวมทั้งสาเหตุของการเกิดปัญหาสุขภาพใจ
  2. เสริมสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพใจทีมงานที่ส่งต่อความสุขของทีมงาน และความสำเร็จในการทำงานตามเป้าหมายของทีมงาน หน่วยงาน และองค์กร
  3. สามารถวิเคราะห์และจับสัญญาณเตือนภัยปัญหาสุขภาพใจของทีมงานได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม แม้ไม่ได้เรียนจิตวิทยามา
  4. สามารถแปลงกลยุทธ์การรับมือกับความเครียดและภาวะหมดไฟของทีมงานสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
  5. เสริมสร้างเทคนิคและวิธีการดูแลสุขภาพใจทีมงานแบบหัวหน้างานมืออาชีพยุคใหม่ และสามารถแปลงวิธีการดูแลสุขภาพใจทีมงานแบบ “เข้าใจ->เข้าถึง” สู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
  6. สามารถแปลงการสื่อสารในการสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
  7. สามารถถ่ายทอดและให้คำแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพใจให้ผู้อื่นได้ หลังเสร็จสิ้นการอบรม 

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :

ส่วนที่  1  :  บทบาทหัวหน้างานยุคใหม่ในการบริหารคน ด้วยการดูแลสุขภาพใจทีมงาน

  • บทบาทหัวหน้างานยุคใหม่ในการบริหารคน ด้วยการดูแลสุขภาพใจทีมงาน
  • ความสัมพันธ์ของการบริหารอารมณ์กับการดูแลสุขภาพใจทีมงาน
  • บุคลากรที่มีสุขภาพใจที่ดีมีลักษณะอย่างไร ?
  • การดูแลสุขภาพใจที่ดีส่งผลอย่างไรต่อความสุข และความสำเร็จในการทำงาน ?

ส่วนที่  2  :  ปัญหาสุขภาพใจเกิดจากอะไรบ้าง ?

  • ปัญหาสุขภาพใจที่เกิดจากสาเหตุด้านร่างกาย
  • ปัญหาสุขภาพใจที่เกิดจากสาเหตุด้านจิตใจ
  • ปัญหาสุขภาพใจที่เกิดจากสาเหตุด้านสิ่งแวดล้อม
  • สัญญาณเตือนภัยปัญหาสุขภาพใจของทีมงาน
  • Workshop 1 : วิเคราะห์และจับสัญญาณเตือนภัยปัญหาสุขภาพใจของทีมงาน

ส่วนที่  3  :  5 ปัญหาสุขภาพใจที่คุกคามวัยทำงาน

  • 5 ปัญหาสุขภาพใจที่คุกคามวัยทำงาน
  • "ความเครียด" "ภาวะหมดไฟใน" และ "โรคซึมเศร้า" ต่างกันอย่างไร?

ส่วนที่  4  :  กลยุทธ์การรับมือกับความเครียดและภาวะหมดไฟของทีมงาน 

  • กลยุทธ์การรับมือกับความเครียดและภาวะหมดไฟ ที่หัวหน้างานยุคใหม่ “ต้องแนะนำทีมงาน”
  • กลยุทธ์การรับมือกับความเครียดและภาวะหมดไฟ ที่หัวหน้างานยุคใหม่ “ต้องทำด้วยตนเอง”
  • Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติแปลงกลยุทธ์การรับมือกับความเครียดและภาวะหมดไฟของทีมงานสู่การปฏิบัติจริง

ส่วนที่  5  :  วิธีการดูแลสุขภาพใจทีมงานแบบหัวหน้างานมืออาชีพยุคใหม่

  • วิธีการดูแลสุขภาพใจทีมงานแบบหัวหน้างานมืออาชีพยุคใหม่
  • สร้างสุขให้ทีมงานด้วย “คุณภาพชีวิตที่ดีด้วย Well Being”
  • ดูสุขภาพใจทีมงานให้ดียิ่งขึ้นด้วย EAP”
  • วิธีการดูแลสุขภาพใจทีมงานแบบ “เข้าใจ->เข้าถึง”
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติแปลงวิธีการดูแลสุขภาพใจทีมงานแบบ “เข้าใจ-เข้าถึง” สู่การปฏิบัติ

ส่วนที่  6  :  6 เทคนิคการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงาน

  • วิธีการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานด้วย "การสื่อสารแบบเห็นอกเห็นใจทีมงาน"
  • วิธีการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานด้วย “การจูงใจ”
  • วิธีการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานด้วย “การ Feedback อย่างสร้างสรรค์”
  • วิธีการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานด้วย “การชื่นชม”
  • วิธีการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานด้วย “การให้กำลังใจ”
  • วิธีการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานด้วย “การคุยเรื่องสุขภาพใจ”
  • Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติแปลงการสื่อสารสร้างบรรยากาศเชิงบวกในการทำงานสู่การปฏิบัติ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :

ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน และฝ่ายทรัพยากรบุคคล

วิธีการในการเรียนรู้ :

  1. การบรรยาย (Lecture) ประมาณ 60%
  2. การทำกิจกรรมกลุ่มฝึกปฏิบัติ (Workshop) ประมาณ 40%
  3. การระดมความคิด (Brain Strom) และการนำเสนอความคิดเห็น
  4. การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม

วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช  ธานี (อ.ต้น)

  • กรรมการผู้จัดการ สถาบัน People Develop Center  
  • วิทยากร ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้าน HR เชิงกลยุทธ์จากประสบการณ์ 35 ปี
  • วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
  • วิทยากรพิเศษด้าน HR คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย  

วันและเวลาสัมมนา :  

วันที่  8  กุมภาพันธ์  2568  เวลา 09.00-16.00 น. 

สถานที่สัมมนา :

REMBRANDT HOTEL สุขุมวิท 18, 20 กรุงเทพฯ (ใกล้สถานี BTS อโศก) 

ค่าลงทะเบียนอบรม : 

พิเศษ 1)  3,900 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat) ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วันทำการ

                ปกติ 4,200 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat)

พิเศษ 2)  ลงทะเบียน 5 ท่าน ชำระ 4

วิธีการชำระค่าลงทะเบียน : 

  • โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.    ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก(หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 4057769552 
  • เมื่อชำระเงินแล้ว โปรด Scan สำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
    ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 
    บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด เลขที่ 22/20 หมู่ที่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110    เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502   
  • กรณียกเลิกการอบรมกรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนอบรม หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าอบรมเพื่อรับเอกสาร   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 303,494