การบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ ในภาคปฏิบัติ (Business Continuity Management-BCM in practices) 19 ธันวาคม 2567

หลักการและเหตุผล

เพื่อปกป้องความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน มีความบางเสี่ยงที่ไม่อาจป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ เพราะอยู่นอกการควบคุมขององค์กร โดยองค์กรยังต้องเผชิญกับความผันผวน ความไม่แน่นอน ความเสี่ยงทั้งทางตรงและทางอ้อมอื่นอีกด้วย องค์กรจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความพร้อมและเตรียมตัวรับมือ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแม้เกิดเหตุการณ์ความผันผวนหรือวิกฤติ รวมทั้งยังต้องมีระบบในการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงและภัยคุกคามที่มีประสิทธิภาพด้วยมีหลายเหตุการณ์ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ และเป็นเหตุสำคัญที่ให้ธุรกิจไม่อาจดำเนินกิจการได้ตามปกติ จึงเป็นเหตุผลให้การบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ทั้งธุรกิจขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ดังเช่น นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจโลก เกิดสงครามระหว่างประเทศ ชิ้นส่วนในการผลิตขาดแคลน เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย โรคระบาด วินาศกรรม จลาจล ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้กิจการต้องหยุดชะงัก สร้างความเสียหายแก่บริษัทได้

ดังนั้นการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) จึงเป็นเครื่องมือทางการบริหารที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการบริหารความเสี่ยง เพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบริษัท อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ แม้อยู่ท่ามกลางสภาวะวิกฤต โดยไม่ทำให้การดำเนินธุรกิจเกิดการหยุดชะงัก รวมถึงจำกัดวงให้มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถป้องกันความเสียหายความสูญเสียที่มีมูลค่าสูงมหาศาลได้ รวมทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าขององค์การสูงขึ้นเนื่องจากความมั่นใจของลูกค้าและผู้ถือหุ้น และประโยชน์สูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ พนักงานในองค์กร และทุกหน่วยงานในองค์การมีความรู้และความเข้าใจอย่างถูกต้องระบบบริหารนี้ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้ แนวคิด และหลักการไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการความต่อเนื่องของธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล และสามารถจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีความเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม

  1. เข้าใจ และ สามารถอธิบายระบบบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ หลักการ แนวคิด ความจำเป็น ความสำคัญ ขั้นตอน วิธีการ
  2. เข้าใจความเสี่ยงจากภัยคุกคามและผลกระทบต่อองค์กรเมื่อเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ  
  3. เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรที่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจอย่างเป็นระบบ สามรถตอบสนองต่อสภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน ความผันผวน ความเสี่ยงภัย และภัยคุกคามแบบต่าง ๆ ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วอาจจะส่งผลกระทบที่รุนแรงและกว้างขวางต่อธุรกิจทำให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
  4. สามารถจัดทำแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP)เพื่อรับมือกับความเสี่ยงหลักองค์กรได้

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้

ส่วนที่ 1: ความรู้พื้นฐานและกรอบแนวคิดระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ หลักการ แนวคิด ความจำเป็น ความสำคัญ

ส่วนที่ 2: ขั้นตอนการจัดทำแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP Process)

ส่วนที่ 3: ความเสี่ยงจากภัยคุกคามและผลกระทบต่อองค์กรเมื่อเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ

Workshop 1: ค้นหาความเสี่ยงจากภัยคุกคามและผลกระทบต่อองค์กร ที่อาจทำให้ธุรกิจของท่านเกิดการหยุดชะงัก

ส่วนที่ 4: โครงสร้างการบริหารกำกับดูแล และบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรที่ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจอย่างเป็นระบบ

Workshop 2: ออกแบบโครงสร้างบริหาร และบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรเพื่อบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) ในธุรกิจของท่าน

ส่วนที่ 5: อธิบายตัวอย่างความเสี่ยงที่เลือกมาทำ BCP ขององค์กรในอุตสาหกรรมการผลิต

  • BCP Political Turmoil
  • BCP Employee Strike
  • BCP Fire
  • BCP Flood
  • BCP Infectious Disease Pandemic

ส่วนที่ 6: การประยุกต์ใช้ กรอบความคิดในการเขียนแผนความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP)

Workshop 3: ฝึกเขียนแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) สำหรับองค์กรของท่าน

  • General Provision
  • BCP Committee & Organization
  • Pre-Emergency Response and preventive measures
  • Emergency/Crisis response plan
  • BCP Maintaining/Management & Education/Training 

รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ :

  • การบรรยาย (Lecture)  ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
  • การเล่า Case ประสบการณ์
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ: ในการจัดทำ BCP ในหนึ่งสถานการณ์ที่องค์กรผู้เข้าอบรมมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
  • การแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด (Brain Strom) กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการนำเสนอความคิดเห็น
  • การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม  

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :

ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าแผนก วิศกรหรือเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และผู้สนใจทั่วไป 

วิทยากร : อาจารย์ สมบัติ สุภาสุข

  • อดีตผู้บริหารบริษัท Mitsubishi Motors (Thailand) ตำแหน่ง Vice President Human Resource & General Administrative รับผิดชอบ การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) และการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP)  และ Crisis Management, Safety and Security Management
  • อดีตผู้บริหารบริษัท Unique Engineering & Construction ตำแหน่ง Assistant Vice President Human Resource & General Administrative
  • อดีตผู้บริหารบริษัท Walbro (Thailand) ตำแหน่ง Senior Division Human Resource & General Administrative Manager and Company Director
  • อดีตผู้บริหารบริษัท Cobra International ตำแหน่ง Factory Manager, Senior Division Human Resource & General Administrative Manager          

วันและเวลาสัมมนา  :

วันที่  19  ธันวาคม  2567  ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.  

สถานที่สัมมนา : 

REMBRANDT HOTEL สุขุมวิท 18, 20 กรุงเทพฯ (ใกล้สถานี BTS อโศก) 

ค่าลงทะเบียนอบรม : 

พิเศษ 4,900 บาท/ท่าน เมื่อชำระก่อนการอบรม 7 วันทำการ 

(ปกติ 5,400 บาท/ไม่รวม Vat)

พิเศษลงทะเบียน 5 ท่าน ชำระเพียง 4 ท่าน

วิธีการชำระค่าลงทะเบียน :

โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.  

ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด(มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 4057769552  

บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเกิดขึ้น  

ค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน (ถ้ามี) ผู้โอนเงินต้องเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียมเอง  

คำแนะนำในการชำระค่าลงทะเบียน 

  • โปรดส่งสำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร  Scan ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com ในวันโอนเงิน
  • เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน 

ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด เลขที่ 22/20 หมู่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502 

กรณียกเลิกการอบรมกรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนอบรม หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าอบรมเพื่อรับเอกสาร   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 312,039