การบริหารกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Strategic Management for The Modern Executives) โดย อาจารย์ ธนุเดช ธานี จำนวน 1-2 วัน

ความสำเร็จขององค์กรหรือหน่วยงานอยู่ที่กลยุทธ์ (Strategy) และกลยุทธ์ที่ดีต้องเชื่อมโยงสู่เป้าหมายขององค์กร (Corporate KPIs) หรือเป้าหมายของหน่วยงาน (Functional KPIs) ผู้บริหารยุคใหม่จึงต้องมีความ Competency ในการบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management) ในการขับเคลื่อนองค์กรฝ่ามรสุมการแข่งขันทางธุรกิจไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วยเหตุนี้องค์กรชั้นนำยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับในองค์กรให้เป็น “ผู้นำเชิงกลยุทธ์” เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ (Competitive Advantage) ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมภายนอก

หลักสูตรฝึกอบรมนี้สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ในการบริหารกลยุทธ์มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค และประสบการณ์ในรูปแบบที่ “กระชับ เข้าใจง่าย และปรับใช้งานได้จริง” 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : 

  1. เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Strategic Management for Modern Executive)
  2. เสริมสร้างเทคนิคในการกำหนกกลยุทธ์องค์กรด้วย SWOT Analysis และ TOWS Matrix 
  3. สามารถกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objective) ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Measures) เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Targets) และการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ (Strategic Initiatives) ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์องค์กรได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
  4. สามารถผ่องถ่ายกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Strategic Cascade) ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
  5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม 

หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ : 

ส่วนที่  1  :  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management)

  • กลยุทธ์ (Strategy) ?  และการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ?
  • ประเภทของกลยุทธ์ และระดับตำแหน่งที่ต้องบริหารกลยุทธ์ ?
  • จำเป็นด้วยหรือที่ผู้บริหารต้องบริหารกลยุทธ์ ? 
  • 3 ขั้นตอนหลักในการบริหารแผนกลยุทธ์ (Strategic Management Process) 

ส่วนที่  2  :  การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ (Formulate The Organizational Strategy)

  • แนวทาง SWOT Analysis ปัจจัยภายนอกองค์กรด้วย C–PEST และปัจจัยภายในองค์กรด้วย 7S
  • แนวทางการกำหนดกลยุทธ์องค์กร(Company Strategy) ด้วย TOWS Matrix
  • Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติกำหนดกลยุทธ์องค์กร (Company Strategy)
  • แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ฝ่ายงาน (Functional Strategy)
  • Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติกำหนดกลยุทธ์ฝ่ายงาน (Functional Strategy) 

ส่วนที่  3  :  การผ่องถ่ายกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Strategic Cascade)

  • การผ่องถ่ายตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs) และกลยุทธ์องค์กร (Company Strategy) สู่การปฏิบัติด้วย Balance Scorecard
  • แนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์กลยุทธ์ (Strategic Objectives and Strategy Map) ให้เชื่อมโยงกับ Corporate Strategic Objective และ Corporate KPIs
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objective)
  • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Measures) เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Targets) ให้เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์กลยุทธ์ฝ่ายงาน ด้วย Functional KPI
  • แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ฝ่ายงาน หรือความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ (Functional Strategy / Strategic Initiatives)
  • Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติกำหนดกำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Measures) เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Targets) และกลยุทธ์หน่วยงาน (Functional Strategy / Strategic Initiatives)
  • เทคนิคแปลงกลยุทธ์และ KPI สู่การปฏิบัติด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
  • หัวใจสำคัญของการจัดทำแผนปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ  

ส่วนที่  4  :  การควบคุมกลยุทธ์ด้วยการติดตามผลลัพธ์ของการทำงาน (Strategic Control)

  • การควบคุมกลยุทธ์ ด้วยการติดตามผลลัพธ์ของการทำงาน (Strategic Control) บนพื้นฐานของ KPI
  • แนวทางการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ด้วยการจัดทำบันทึกข้อตกลงผลสัมฤทธิ์ของงาน (Performance Agreement) ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กลยุทธ์ ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
  • การควบคุม ติดตามงานจาก Performance Agreement ด้วย KPI

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :

ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก และหัวหน้าแผนก

ระยะเวลาในการเรียนรู้ :

จำนวน 1-2 วัน ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น.  

รูปแบบ/วิธีการในการเรียนรู้ : 

  • การบรรยาย (Lecture)  ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่มีการระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมระหว่างฝึกอบรม (Participative Techniques) ช่วยให้ผู้เรียนรู้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ : ที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion)เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • การแชร์ประสบการณ์
  • การระดมความคิด (Brain Strom) และการนำเสนอความคิดเห็น
  • การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม  

สนใจหลักสูตรติดต่อ คุณฐิตาภา (ไก่)   

Hotline : 095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com  

Visitors: 286,171