การออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPI และ Competency รุ่นที่ 29 (Performance Appraisal based on KPI & Competency) : 30 กรกฎาคม 2567

การประเมินผลยุคปัจจุบันเน้นเรื่อง Performance / Results และ Competency แต่ก็ยังประสบกับปัญหาเหล่านี้ ? 

  • บุคลากรยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน  (Performance Management System)
  • เลือกไม่ถูกว่าจะประเมินผลด้วย OKR หรือ KPI ดี ???
  • ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง Key Performance Indicators และ Performance Indicators ได้
  • ในการกำหนดหัวข้อประเมินผลไม่สามารถกำหนดได้ว่า อะไรคือ KPI (Key Performance Indicators) อะไรคือ PI (Performance Indicators) ?
  • แยกไม่ออกระหว่าง Performance กับ Competency
  • จะประเมิน Competency ก็มีแต่พฤติกรรมที่จับต้องได้ยาก จะมีการประเมิน Competency ที่ชัดเจนได้อย่างไร ?
  • ประเมินผลว่ายากแล้วแต่ Performance Feedback ยิ่งยากกว่า จะ Feedback อย่างไรให้เป็นธรรมและได้รับการยอมรับจากลูกน้อง ?
  • ประเมินผลแล้ว ไม่รู้จะนำผลการประเมินไปใช้เชื่อมโยงกับการพัฒนาบุลากรได้อย่างไร ?

หากองค์กรของท่านกำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น จนก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ของปัญหาการจัดการตามมา อาทิเช่น  การประเมินผลไม่เป็นธรรม พนักงานไม่ยอมรับผลการประเมิน หัวหน้ารู้สึกอัดอัดเวลาแจ้งผลงานลูกน้อง ขวัญกำลังใจพนักงานตกต่ำ พนักงานกลุ่ม Talent ทยอยลาออก ฯลฯ 

หลักสูตรที่เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลไม่ควรพลาด ท่านจะได้เรียนเทคนิค ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่แบบครบวงจร ที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ตรงของวิทยากรในการเรียนรู้ที่ “กระชับ เข้าใจง่าย และนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง” 

วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม 

  1. สามารถอธิบายแนวคิด หลักการ กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ (Modern Performance Management Process) และ KPIs ได้
  2. สามารถแยกความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง KPIs กับ OKRs ได้
  3. สามารถออกแบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPIs ให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร และงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. สามารถออกแบบประเมินผลด้วย Competency ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. สามารถอธิบายและแยกแยะความแตกต่างระหว่าง Key Performance Indicators, Performance Indicators และ Competency  ได้อย่างชัดเจน
  6. สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีสมัยใหม่ ด้วย KPI และ Competency ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
  7. เสริมสร้างเทคนิคการให้ Performance Feedback อย่างมีประสิทธิภาพ
  8. สามารถนำผลการประเมินไปใช้ในการบริหารผลงานได้อย่างเป็นระบบ 

หัวข้อสำคัญที่ท่านจะได้เรียนรู้ : 

ส่วนที่  1  :  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ (Introduction to Modern Performance Appraisal)

  • ความเชื่อมโยงของการประเมินผลการปฏิบัติงานกับระระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System : PMS)
  • 6 ขั้นตอนสำคัญของระบบบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management Process)
  • Key Performance Indicators และ Competency เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมินผลยุคใหม่
  • แนวทางการกำหนดปัจจัยและค่าน้ำหนักความสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปียุคใหม่
  • Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติออกแบบเกณฑ์และน้ำหนักความสำคัญของระบบประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปียุคใหม่  (Performance Appraisal Design)  

ส่วนที่  2  :  ความเหมือนที่แตกต่าง และความแตกต่างที่เหมือนกันของ KPIs (Key Performance Indicators) กับ OKRs (Objective and Key Results)

  • ความเหมือนที่แตกต่างของ KPIs กับ OKRs
  • ความแตกต่างที่เหมือนกันของ KPIs กับ OKRs 
  • ถ้า OKRs ไม่นิยมใช้ประเมินผล แล้วองค์กรที่ใช้ OKRs ใช้เครื่องมือใดในการประเมินผล ??? 

ส่วนที่  3  :  เทคนิคการกำหนด KPIs ในการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับ Vision และ Objective (KPIs for Performance Appraisal)

  • ประเภทของ KPI
  • การกำหนด Corporate KPIs ด้วย Balance Scorecard (BSC)  เพื่อวัดผลการดำเนินงานทางธุรกิจขององค์กร
  • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายขององค์กร (Corporate KPIs)
  • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของแต่ละฝ่ายงาน (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงกับนโยบาย (Policy) วัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
  • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของตำแหน่งงาน (Position KPIs / Individual KPIs)
  • ความแตกต่างระหว่าง Key Performance Indicators กับ Performance Indicators
  • แนวทางการออกแบบและเชื่อมโยง KPIs สู่การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติออกแบบและทบทวนแบบประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPI ของแต่ละตำแหน่งงาน 

ส่วนที่  4  :  วิธีกำหนดและเชื่อมโยง Competency สู่การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Competency for Performance Appraisal)

  • ประเภทของ Competency และเครื่องมือในการกำหนด Competency
  • ความแตกต่างระหว่าง Key Performance Indicators กับ และ Competency
  • แนวทางการกำหนด Competency ในการประเมินขีดความสามารถจาก Job Description Version 4
  • แนวทางการแปลง Competency เป็น Training Road Map และเชื่อมโยงสู่การประเมินความสามารถประจำปีที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร 
  • ตัวอย่างการแปลง Competency จาก Training Road Map สู่การประเมินความสามารถที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร 
  • Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติออกแบบและทบทวนแบบประเมินขีดความสามารถด้วย Competency ของแต่ละตำแหน่งงาน 

ส่วนที่  5  :  วิธีการประเมินผลงานให้เป็นธรรมและได้รับการยอมรับจากทีมงาน

  • แนวทางการประเมินผลงานอย่างเป็นธรรมและได้รับการยอมรับจากทีมงาน
  • กระบวนการในการประเมิน และ Feedback ผลการปฏิบัติงานลูกน้องอย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนที่  6  :  แนวทางการแจ้งผลการปฏิบัติงาน (Positive Feedback) ให้ได้ทั้งใจและได้ทั้งงานจากลูกน้อง

  • 8 เทคนิคการแจ้งผลงาน (Positive Feedback) แบบได้ทั้งใจ และได้ทั้งผลงานจากลูกน้อง 

ส่วนที่  7  :  การนำผลการประเมินไปปรับใช้งานเชื่อมโยงกับ Human Resources System

  • แนวทางการเชื่อมโยงผลการปฏิบัติงานกับแผนพัฒนารายบุคคล (Performance Appraisal linked to Individual Development Plan : IDP)
  • แนวทางการเชื่อมโยงผลการประเมินกับ Training Road Map และ Career Path
  • แนวทางการเชื่อมโยงผลการประเมินกับ Succession Plan ด้วย Competency และ KPI
  • แนวทางการเชื่อมโยงผลการประเมินกับการปรับค่าจ้างประจำปียุคใหม่ แบบอิงเกรด ไม่อิง Bell Curve  

รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ :

  • การบรรยาย  แบบ Adult Learning
  • ประกอบการแชร์ประสบการณ์ตรง
  • การทำ Workshop ในการปฏิบัติจริง
  • การระดมความคิด นำเสนอผลงาน
  • การถามตอบ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :

เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้สนใจทั่วไป 

วิทยากร (Trainer)  :  อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)

  • กรรมการผู้จัดการสถาบันฝึกอบรม People Develop Center  
  • วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 34 ปี
  • วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
  • วิทยากรพิเศษด้าน HRD คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย

วันและเวลาอบรม (DATE AND TIME) :  

รุ่นที่  29  วันที่  30  กรกฎาคม  2567  ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

สถานที่อบรม (VENUE) : 

REMBRANDT HOTEL สุขุมวิท 18, 20 กรุงเทพฯ (ใกล้สถานี BTS อโศก) 

ค่าลงทะเบียนอบรม 

พิเศษ 1 เพียง 3,700 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat) ลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วันทำการ

             ราคาปกติ 4,200 บาท/ท่าน (ไม่รวม Vat)

พิเศษ 2 ปรึกษาฟรีก่อน และหลังการอบรม

พิเศษ 3 ลงทะเบียน 5 ท่าน ชำระเพียง 4 ท่าน

วิธีการชำระเงิน : 

โอนเงิน หรือเช็คขีดคร่อมในนาม บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด หรือ People Develop Center Co., Ltd.  

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนลาดปลาดุก (หมู่บ้านพฤกษา 3) บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เลขที่ 4057769552  

คำแนะนำในการชำระเงิน 

  • โปรดส่งสำเนาใบโอนเงิน พร้อมเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ระบุชื่อบริษัท ชื่อหลักสูตร ส่งเมล์มาที่ peopledevelop@outlook.com 
  • เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่ายตัวจริงกรุณานำมาให้ในวันอบรม กรณีเอกสารไม่ครบจะต้องชำระส่วนเพิ่มเป็นเงินสดที่หน้างาน 

ข้อมูลเพื่อออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 
บริษัท พีเพิล ดีเวลลอป เซ็นเตอร์ จำกัด เลขที่ 22/20 หมู่ 6 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 

เลขประจำตัวผู้เสียภาษี  0125558000502 

กรณียกเลิกการอบรมกรุณาแจ้งล่วงหน้า 7 วันก่อนอบรม หากหลังจากนั้นกรุณาชำระเงิน 30% ของค่าอบรมเพื่อรับเอกสาร   

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : คุณฐิตาภา (ไก่) เหมะสิขัณฑกะ  

Tel :  095-853-5513, 091-738-7838

E-mail : peopledevelop@outlook.com

Visitors: 284,862