การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) แบบมืออาชีพ ตอนที่ 1

การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) แบบมืออาชีพ ตอนที่ 1 

 

โดย อ.ต้น ธนุเดช ธานี

E-mail : mba_hrpro@hotmail.co.th

 

"ถ้าจะพัฒนาลูกน้องให้เก่งทั้งงาน เก่งทั้งคน เก่งทั้งความคิด เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ จะทำอย่างไรดี ? "

...นี่เป็นคำถามที่ผมได้รับจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และ HR เสมอๆ ผมเลยอยากเขียนมาแชร์ประสบการณ์กันครับ

บางท่านอาจไม่รู้ว่าจะพัฒนาลูกน้องของตนเองเรื่องอะไรดี เครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรที่ HR นิยมใช้ ก็คือ แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ครับ

ถ้าจะเริ่มทำให้ง่ายที่สุด ต้องเริ่มที่กำหนดสมรรถนะ (Competency)

...อ้าว ! อ.ต้น แล้วจะเอาข้อมูลจากไหนมากำหนดดีล่ะ ?

ก็กำหนดจากใบกำหนดหน้าที่งาน (Job Description : JD) ไงครับ

...อ้าว ! อ.ต้น แล้วถ้าไม่มี JD ล่ะ หรือ JD ไม่มี competency หรือมี competency ที่ไม่ชัดเจนล่ะ

แบบนี้ก็ไม่ยากครับ เราลองกำหนด JD แบบง่ายๆ เลยว่า ในแต่ละตำแหน่ง พนักงานต้องทำงานอะไรบ้าง ? แล้วในแต่ละงานที่ทำนัั้น ต้องใช้ความรู้ (Knowledge) หรือทักษะ (Skill) อะไรบ้าง ถึงจะทำงานนัั้นได้ดี
เจ้าความรู้และทักษะนี้ก็คือ competency แบบง่ายๆ ที่สามรถวัดผลได้ พัฒนาได้ ซึ่งเราสามารถดึงความรู้และทักษะมาใช้กำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาลูกน้องเราได้แล้วครับ

...อ้าว ! อ.ต้น พูดง่ายนะ ได้ Competency แล้วต้องมาทำอย่างไรต่อล่ะ ?

ก็นำมาประชุมและกำหนดระดับ competency ที่คาดหวัง ผมนิยมกำหนดเป็น 4 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในการทำงาน 
ระดับที่ 2 สามารถทำงานได้ แต่ต้องมีพี่เลี้ยงหรือคนคอยควบคุมดูแล
ระดับที่ 3 ชำนาญจนสามารถทำงานได้เอง และแก้ไขปัญหาได้
ระดับที่ 4 เชี่ยวชาญจนสามารถถ่ายทอดได้

หลังจากนั้นก็ประเมินหา Competency Gap ว่าระดับ competency ที่พนักงานมีถึงระดับที่องค์กรหรือหน่วยงานคาดหวังหรือยัง ถ้ายังก็ลงมืิอจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลต่อไปครับ

ท่านผู้อ่านมีมุมคิดอย่างไรก็แสดงความเห็นได้ หรือถ้าคิดว่ามีประโยชน์ก็ช่วยกันแชร์นะครับ

ยังไม่จบนะครับ คราวหน้าจะมาแชร์ต่อ ขอไปทำธุระก่อนครับ

 

"พัฒนาคน พัฒนาธุรกิจ"

Visitors: 285,262