Leadership Development (การพัฒนาภาวะผู้นำ) อาจารย์ อิทธินันท์  สันทัศ

หลักการและเหตุผล

ทักษะของผู้นำ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สามารถทำให้องค์กรมั่นใจได้ว่าเป้าหมาย หรือวัตถุปะสงค์ ที่องค์กร   ต้องการ  จะมีแนวโน้มเป็นไปตามที่คาดหวัง ทำให้หลาย ๆ องค์กรมุ่งเน้นการฝึกอบรมผู้บริหารหรือผู้จัดการให้มีทักษะของผู้นำ (Leadership) และด้วยภาวะความเป็นผู้นำต้องลงมาทำงาน สอนงาน ติดตาม ให้กำลังใจ  และผลักดันลูกน้องมากขึ้น ต้องเป็นต้นแบบหรือเป็นตัวหลัก (Change Agent) ในการเปลี่ยนแปลง เป็นคุณสมบัติที่เกิดขึ้นจากภายในตัวตนของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ด้วยตนเอง โดยความเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากความเชื่อเดิม ๆ ที่ไม่มีประโยชน์ให้เป็นความเชื่อใหม่ ๆ ของตัวเอง แล้วนำไปฝึกฝนจนกลายเป็นธรรมชาติของตัวเอง เมื่อนั้นผู้อื่นก็จะตามคุณด้วยความเต็มใจ

ผู้จัดการมีความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนาทีมงานให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากคุณขาดภาวะการณ์เป็น   ผู้นำ คุณคงล้มเหลวแน่นอน ผู้จัดการมีความแตกต่างจากผู้นำ คือ ผู้จัดการบริหารงานโดยการสั่ง แต่ผู้นำบริหารงานโดยการสอนงาน (Coaching) การจะพัฒนาผู้อื่นให้ได้ดี คุณต้องมีภาวะความเป็นผู้นำในเรื่องการพัฒนาตัวเองให้ดีก่อน

จากผลการวิจัยขององค์กรต่าง ๆ ด้านการบริหารพบว่า ผู้บริหารในองค์กรจำนวนมากขาด “ภาวะผู้นำ”จากปัญหาดังกล่าว วันนี้องค์กรชั้นนำต่าง ๆ จึงให้ความสำคัญในการพัฒนาผู้นำในองค์กรของตนให้เก่ง “เก่งคิด เก่งคน เก่งงาน” มากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นเรื่องท้าทายการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ ดังนั้น ผู้นำที่ดีคือผู้ที่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และกระตุ้นให้ผู้อื่นเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยความเต็มใจ การพัฒนาผู้อื่น เพิ่มการเป็น “โค้ช” เพื่อสร้างให้ลูกน้องเกิดความศรัทธา เชื่อถือและไว้วางใจ เพราะมั่นใจแล้วว่า ความศรัทธา เชื่อถือและไว้วางใจเป็นรากฐานที่สำคัญ ที่จะทำให้เกิดการยอมรับฟังคำชี้แจง และพร้อมที่จะพัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง ตามที่ผู้นำทีม ให้คำแนะนำปรึกษาอย่างเต็มใจ

               

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1. เพื่อให้ผู้บริหารได้เรียนรู้ว่าบทบาทของผู้จัดการหรือผู้นำ มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน และมีความรู้ ละมีความสุขกับการพัฒนาทีมงาน

     ในฐานะโค้ช และเสริมทักษะในการสร้างให้ลูกน้องเกิดความไว้วางใจและศรัทธาในตัวผู้นำทีม

3. เพื่อสร้างทักษะในการ Coaching ของการพัฒนาผู้อื่นด้วยความเป็นผู้นำ และเป็นแนวทางสู่การพัฒนาตัวเองให้เป็น

    โค้ชที่ดี  

 

เนื้อหาการเรียนรู้

Module 1: Self-Awareness and Communication

  1.              การปรับเปลี่ยนกรอบความคิด (Paradigm Shift) ในการบริหารทีมงาน
  2.              ธรรมชาติของมนุษย์และการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
  3.          รู้จักและเข้าใจคุณลักษณะพฤติกรรมของลูกน้องของมนุษย์ใน 4 มิติ
  •        มารู้จักตนเองและลูกน้องแต่ละ Style กันดีกว่า
  •        การวิเคราะห์คุณลักษณะพฤติกรรมของลูกน้อง จากการสังเกต การพูด/น้ำเสียง/ภาษาท่าทาง
  1.              คุณจะสื่อสารกับลูกน้องแต่ละ Style ได้อย่างไร ?
  •        ปัญหาของการสื่อสารอยู่ที่ใคร
  •        Work Shop : วิธีการสื่อสารกับลูกน้องแต่ละ Style
  •        Work Shop : การสร้างแรงจูงใจกับลูกน้องแต่ละ Style

Module 2 : Leadership Skill

1.   บทบาทและหน้าที่ของผู้นำกับผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร

  •        ผู้นำกับผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร
  •        คุณสมบัติแห่งการเป็นผู้นำ
  •        ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผู้นำหรือผู้จัดการ

2.การบริหารและสร้างสมดุลของพนักงานที่แตกต่างกัน

  •        การบริหารลูกน้องแต่ละ Style
  •        การบริหารคนและสร้างสมดุลของพนักงานที่แตกต่างกัน
  •        ความผูกพันของพนักงาน (Employee Engagement)
  •        ลักษณะของบรรยากาศแห่งความสำเร็จ
  •        Work Shop : การบริหารลูกน้องแต่ละ Style

3.  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดบรรยากาศแห่งความสำเร็จ

  •        ความเข้าใจในตัวพนักงาน
  •        สร้างความไว้วางใจ (Build Trust)
  •        การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
  •        การทำงานเป็นทีม

Module 3 :CoachingSkill

1.   Coaching Skill

  •        การโค้ช คืออะไร
  •        โค้ชเพื่ออะไร
  •        โค้ชอย่างไร

2. กระบวนการโค้ช

  •        ตั้งหลักที่งาน
  •        อ่านลูกทีมให้ขาด
  •        จัดแนวทางการโค้ช
  •        จำลองสถานการณ์ในการโค้ช ลูกน้องแต่ละ Style ได้อย่างไร

  3. สร้างความศรัทธาและเชื่อถือ

  •        ตอกย้ำสิ่งที่ดี (Accentuate the Positive)
  •        เมื่อเกิดความผิดพลาด จงเบี่ยงเบนพลัง(When Mistakes Occur,Redirect the Energy)
  •        วิธีการชมเชยและการตอบสนอง (Providing constructive Feedback)

 

รูปแบบการเรียนรู้

  •        การบรรยายแบบมีส่วนร่วม (Participative Technique)
  •        กิจกรรมการสร้างทัศนคติเชิงบวก (Positive Attitude)
  •        Work Shop
  •        จำลองสถานการณ์ในการ Coaching
  •        สื่อมัลติมีเดีย (Audio & Visual)

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการเรียนรู้

       พนักงานระดับหัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือเทียบเท่า

 จำนวนผู้เข้ารับการเรียนรู้

           ไม่เกิน 30คน/รุ่น (เน้นภาคปฏิบัติ)

ระยะเวลาการเรียนรู้

           2 วัน/รุ่น: เวลา 09.00-16.00 น.

      อุปกรณ์ที่ใช้ :Other

 - LCD       - Flip Chart    - Microphone    - Classroom andWorkshop

Visitors: 285,853