การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) โดย อาจารย์ วินัย ดวงใจ

 

การประเมินความเสี่ยงตามหลักสูตรนี้ เป็นการประเมินสภาวะความเสี่ยงในการทำงานตามหลักการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งมีความแตกต่างจากการประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจซึ่งเน้นไปที่ความไม่แน่นอนของตัวแปรทางธุรกิจและการแข่งขัน ส่วนการประเมินความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จะเน้นไปที่โอกาสเกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน และโอกาสที่จะเกิดความเสียหายแก่สายการปฏิบัติงานหรือโอกาสเกิดภัยภิบัติแก่องค์กร ความเสี่ยงเป็นเรื่องของโอกาสซึ่งอาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ แต่การไม่รับรู้ถึงความเสี่ยงหรือภัยที่ซ่อนอยู่นับเป็นความเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุด จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสายการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง สารเคมี เครื่องจักร ไฟฟ้า การผลิต การประกอบ การบรรจุ การขนส่ง จะต้องมีการประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นระบบด้วยวิธีการที่ถูกต้อง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ทราบถึงหลักการของการบ่งชี้อันตรายและการประเมินความเสี่ยง

2. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์อันตรายและจุดเสี่ยงในแต่ละขั้นตอนของงานได้

3. เพื่อให้สามารถหาแนวทางหรือมาตรการป้องกันอันตรายของงานได้

4. เพื่อสร้างจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

หัวข้อการบรรยาย

  1. หลักในการทำงานให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์    (ZERO ACCIDENT) 
  2. องค์กรทุกๆองค์กรคาดหวังอะไร จากการทำงานของพนักงาน 
  3. สรุปย่อพื้นฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสำหรับการประเมินความเสี่ยง 
  4. เป็นมาและพื้นฐานการประเมินความเสี่ยง 
  5. ประเภทและเครื่องมือในการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง 
  6. ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง 
  7. การกำหนดขอบเขต 
  8. การชี้บ่งอันตราย 
  9. การกำหนดเกณฑ์การประเมินและการประเมินความเสี่ยง 
  10. การจัดลำดับความเสี่ยงและการขึ้นทะเบียนความเสี่ยง 
  11. การบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุม 
  12. การพัฒนาปรับปรุงการประเมินความเสี่ยง 
  13. Workshop การฝึกปฏิบัติการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง

หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ

ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน วิศวกร เจ้าหน้าที่ และพนักงานทุกหน่วยงาน

ระยะเวลาอบรม

จำนวน 1 วัน ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

สนใจหลักสูตรติดต่อ คุณฐิตาภา (ไก่)  

Hotline : 091-738-7838, 095-8535513, 02-061-3276 

E-mail : peopledevelop@outlook.com 

Visitors: 286,290